วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านภาษาต่างประเทศให้แก่นิสิต เพื่อให้นิสิตได้ตระหนักถึงความสำคัญ และเพื่อเพิ่มทักษะด้านภาษาต่างประเทศ รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมด้านภาษาต่างประเทศในการทำงานให้กับนิสิต โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวจิตราภรณ์ วนัสพงศ์ และนางสาวฑิฆัมพร นาวานุเคราะห์ เป็นวิทยากร
ภาควิชาจิตวิทยา จัดโครงการจิตวิทยาสัมพันธ์ในหัวข้อเรื่อง การปรับตัวในการทำงาน “ยุคดิจิทัล”
วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการจิตวิทยาสัมพันธ์ในหัวข้อเรื่อง การปรับตัวในการทำงาน “ยุคดิจิทัล” โดยได้รับเกียรติจากศิษย์เก่า ได้แก่ คุณยุวันดา ธราพร คุณภัทราภรณ์ พวงเพชร และคุณวสุพล จันทร์กระจ่าง เป็นวิทยากร โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้ทักษะการทำงานในโลกปัจจุบันและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน
เสนอชื่อผู้สมควรเข้ารับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมเสนอชื่อผู้สมควรเข้ารับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดี มหาวิทยาลัยบูรพา ณ บริเวณห้องโถงชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ภาควิชาศาสนาและปรัชญา จัดโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการฝึกสหกิจของนิสิต ในหัวข้อ “ธรรมะกับการทำงาน”
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการฝึกสหกิจของนิสิต ในหัวข้อ “ธรรมะกับการทำงาน” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ไข่มุก เหล่าพิพัฒนา และอาจารย์ชูชาติ ศรีตระกร เป็นวิทยากร โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาศาสนาและปรัชญา มีความรู้ในการฝึกสหกิจและเพื่อให้นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมในการปฏิบัติงาน โดยมีนิสิตชั้นปีที่ 3 เข้าร่วมจำนวน 55 คน
การประชุมร่วมกับผู้แทนจาก Cyber Hankuk University of Foreign Studies สาธารณรัฐเกาหลี
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ผศ.ดร.ธัญญารัตน์ สงวนศรี หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก พร้อมด้วย ดร.พัชรยา ปาลสุทธิ์ หัวหน้าสาขาวิชาภาษาเกาหลี และ ผศ.อุไรวรรณ จิตเป็นธม คิม เข้าร่วมการประชุมร่วมกับผู้แทนจาก Cyber Hankuk University of Foreign Studies สาธารณรัฐเกาหลี ได้แก่ Prof. Dr. Lee Min Woo (Head of Department of Korean) และ Prof. Dr. Chin Chongnan (Dean of Global Education Institute) ณ ห้อง QS2-602 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อหารือความร่วมมือในโครงการ KF Global e-School และแนวทางการดำเนินการทางด้าน Visiting Program สำหรับนิสิตสาขาวิชาภาษาเกาหลีในอนาคต
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น จัดโครงการ “2024 Short-term Academic Exchange Program”
วันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ได้จัดโครงการ “2024 Short-term Academic Exchange Program” ภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการกับ Toyo University ประเทศญี่ปุ่น โดยศาสตราจารย์ Kazuo Takahashi Department of Regional Development Studies, Faculty of Global and Regional Development Studies พร้อมด้วยนักศึกษาชาวญี่ปุ่นจำนวน 9 คน จัดกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 และ หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก คณาจารย์สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น รวมจำนวน 86 คน กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่น ผ่านการทำกิจกรรม Group Discussion และ Study Trip โดยใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นสื่อกลางในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่น ทำให้นิสิตมีโอกาสฝึกฝนทักษะทางปัญญาและทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่น และเพื่อส่งเสริมทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มากยิ่งขึ้น
ตัวแทนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าร่วมกิจกรรม “ค่ายสานสัมพันธ์มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6 สถาบัน ครั้งที่ 8”
ตัวแทนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าร่วมกิจกรรม “ค่ายสานสัมพันธ์มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6 สถาบัน ครั้งที่ 8” ฮอม ฮีต ฮอย : 6 ทศวรรษ มช. 6 สถาบัน สานพลังสู่ชุมชน ในวันที่ 12 – 18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงเรียนบ้านทุ่งเสี้ยว (นวรัฐ) อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม จากทั้ง 6 สถาบัน ประกอบไปด้วย
🔹คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🔹คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
🔹คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
🔹คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
🔹คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
🔹คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ซึ่งในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพต้อนรับผู้มาเยือนอย่างอบอุ่น
นายเจริญ มูลสาร นิสิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขันทักษะเปิดพจนานุกรม(คันจิ-ไทย) ครั้งที่ 3
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับ นายเจริญ มูลสาร นิสิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขันทักษะเปิดพจนานุกรม(คันจิ-ไทย) ครั้งที่ 3 Mainichi dictation contest ระดับอุดมศึกษา ในงาน Study in Japan Fair ครั้งที่ 49 จัดโดยไมนิจิ อะคาเดมิคกรุ๊ป เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ภาควิชาภาษาตะวันออก จัดงาน Theme : “The Secret of Moonlight” – ความลับของแสงจันทร์
ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดงานใน Theme : “The Secret of Moonlight“ – ความลับของแสงจันทร์ ซึ่งในปีนี้เป็นการจัดงานร่วมกันของทั้ง 3 สาขาวิชา เกาหลี จีน และญี่ปุ่น โดยแต่ละสาขาได้เตรียมกิจกรรม เกมส์ และการแข่งขันต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาเข้าร่วมทั่วภาคตะวันออก โดยผลการแข่งขันมีดังนี้
🎉การแข่งขันร้องเพลงจีน (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)
- รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาว ดลพร อัครพลศานต์ โรงเรียนชลกันยานุกูล
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่นางสาว พินณัฐสรา อ่อนท้วม โรงเรียนชลกันยานุกูล
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่นางสาว นภาพร สัตย์ธรรม โรงเรียนลานสักวิทยา
🎉การแข่งขันร้องเพลงจีน (ระดับอุดมศึกษา) - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาว อนันตา คำรอด มหาวิทยาลัยบูรพา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาว นันท์นภัส พิพัฒน์บุญมา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่นาย ชาชา ลี มหาวิทยาลัยบูรพา
🎉การแข่งขันเล่านิทานจีน - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาว ธนพร วงศ์คำดี โรงเรียนระยองวิทยาคม
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาว นวพร มงคลธีระสกุล โรงเรียนชลกันยานุกูล
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่นางสาว นันทญา ลานคำรัตน์ โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
🎉การแข่งขันสุนทรพจน์จีน (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่นางสาว สมฤดี เมืองกุดเรือ โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาว จันจิรา ยังศิริพรชัย โรงเรียนชลกันยานุกูล
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายณัฐภัทร ทัศดร โรงเรียนระยองวิทยาคม
🎉การแข่งขันสุนทรพจน์จีน (ระดับอุดมศึกษา) - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาว สุพนิดา ปรากฏหาญ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่นางสาว อชิรญา ชีวินวรศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวจีรนันท์ วิภวานี มหาวิทยาลัยบูรพา
🎉การแข่งขันคัดลายมือจีน - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาว นวพร มงคลธีระสกุล โรงเรียนชลกันยานุกูล
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาว ธัสสุนันท์ สัตย์รัมย์ โรงเรียนสุรศักดิ์วิทยาคม
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาว พัทธ์ธีรา นาคะปักษิน โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
🎉การเเข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายกฤษณพล เกษสาคร โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 ได้แก่ นางสาวศศิพัชร์ พันธ์เจริญ โรงเรียนศรีราชา ชลบุรี
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ2 ได้แก่ นางสาวพลอยนภัส มลิวัลย์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้นครศรีธรรมราช
🎉การแข่งขันความรู้ตัวอักษรคันจิ - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวรัญชิดา พ่วงรักษ์ โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่นางสาวพีรดา ศิลปนาฎ โรงเรียนชลกันยานุกูล
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายกรวีย์ พรรัศมีพรหม โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี
🎉การแข่งขันแสดงนิทาน ภาษาญี่ปุ่น - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร อุดรธานี
(1.นายกฤษณะพล พลรักษา 2.นายทีฑทัศน์ จุลสราญพงษ์ 3.นายอาชิตะ กระแสร์ 4.นางสาวจันทิมา พันเถร
5.นางสาวกมลพัชร โพธิ์บาย) - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนวัดป่าประดู่
(1.นายวันนิวัตร โพธิชัยชนะพล 2.นางสาวเบญญาภา ควรหา 3.นางสาวณัฐศิร์ชา งามพิทักษ์สิน
4.นางสาวสุทธิรัตน์ เจริญผล 5.นางสาวญาธิดา ศรลัมภ์) - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง สมุทรปราการ
(1.นายอัฑฒกร แน่นหนา 2.นายถิรศักดิ์ ศิลางาม 3.นางสาวศรัญพร แซ่ล่าย 4. นางสาวปวีณา แจ่มใส 5.นางสาวอินทิรา นิลโต)
🎉การแข่งขันวาดรูปภายใต้หัวข้อ ‘นินจาในจินตนาการ‘ - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายพีรพล ขัดเชียงแสน ชื่อผลงาน ชีวิตคืออะไร
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวศุภกานต์ ปาณะปุณณัง ชื่อผลงาน นินจาม๊ะเหมียว
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวปิยาอร ตรีกุล ชื่อผลงาน NinjaDaily
🎉การแข่งขันแต่งตัว “Korea Cosplay” - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวอังสุมาลิน มนูรัตนศิลป์ โรงเรียนสารวิทยา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวชยาภรณ์ ผลเจริญ โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวอัญชิชา ชะคำวงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวพิมพ์ปวีณ์ ฮาบเมืองซอง โรงเรียนสารวิทยา
- รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวมนชนก สุวรรณโน โรงเรียนสารวิทยา
🎉การแข่งขันคัดลายมือ - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายชนมภูมิ ถือชัยภูมิ โรงเรียนสารวิทยา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวฐิตารี เผ่าศรีเผือก โรงเรียนชลกันยานุกูล
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวบุญญาดา จูพุก โรงเรียนชลกันยานุกูล
- รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวณิชชา นรัจฉริยางกูร โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
🎉การแข่งขันตอบปัญหาวิชาการด้านวัฒนธรรมเกาหลี “Golden bell” - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวภิญญาณัฎฐ์ พลังปัญญวัฑฒ โรงเรียนชลกันยานุกูล
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวศิรดา นันทกิจกำธร โรงเรียนสารวิทยา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวกัญญาณัฐ จี๋แก้ว โรงเรียนสารวิทยา
- รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวบัณฑิตา ศรีศศิธร โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
- รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวพิมพ์นิภา อักษร โรงเรียนชลบุรีสุขบท
🎉การแข่งขันร้องเพลงเกาหลี “Korean Song Singing Contest” - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวฐิตาภา บุญเทียม โรงเรียนสารวิทยา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวชรินษา ฉิมพันธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวปาริฉัตร รักษาทรัพย์ โรงเรียนสารวิทยา
- รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวกัญญ์กุลณัช ผลห้า โรงเรียนสารวิทยา
🎉การแข่งขันเต้นแบบฉบับเกาหลี “Cover Dance” - รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม B-lieve (บีลีฟ)
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ G.O.D. Glamour Of Decade (จีโอดี แกลมเมอร์ออฟดีเคต)
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ Bunny Crush (บันนี่ครัช)
- รางวัลชมเชย ได้แก่ UNIT – GIRLS (ยูนิตเกิลส์)
- รางวัลชมเชย ได้แก่ Enchanted (เอนชานต์)
กิจกรรมเปิดบ้านคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (HUSO BUU Open House 2024)
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดกิจกรรมเปิดบ้านคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (HUSO BUU Open House 2024) เพื่อให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้ทำความรู้จักคณะ หลักสูตร แนวทางการเรียนการสอน อาชีพที่เกี่ยวข้อง และอื่น ๆ ผู้สนใจสามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรมได้ทั้งรูปแบบ ณ ที่ตั้ง (อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา) โดยได้รับชมนิทรรศการจากทุกหลักสูตรระดับปริญญาตรี รับฟังการให้ข้อมูลเรื่องการรับเข้าศึกษา รวมถึงการ Workshop เพื่อค้นหาตัวตนและพูดคุยกับรุ่นพี่แต่ละหลักสูตรอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Facebook Live เพื่อให้ผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาที่คณะฯ ได้รับข้อมูลจากทุกหลักสูตรเช่นเดียวกัน กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นอย่างมาก