ลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับสถานประกอบการ

วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับสถานประกอบการ ที่รับนิสิตสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (CWIE) โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นประธานในพิธี และมีสถานประกอบการที่เข้าร่วมพิธี 3 แห่ง ได้แก่
🔹บริษัท อูซูอิ อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด
🔹กลุ่ม Siam Country Club ประกอบไปด้วย 5 บริษัท ได้แก่ บริษัท สยามคันทรี่คลับ จำกัด (Old Course) บริษัท สมบัติถาวร จำกัด (Plantation) บริษัท ทองถาวรพัฒนา จำกัด (Waterside) บริษัท ถาวร คันทรี่คลับแอน์รีสอร์ท จำกัด (Rolling Hills) และ บริษัท สยาม เอสเตท แอนด์ โค จำกัด
🔹บริษัทจัดหางาน เพอร์ซันแนล คอนซัลแตนท์ (ประเทศไทย) จำกัด

นิสิตได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศการแข่งขันสร้างนวัตกรรมและโมเดลธุรกิจ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ (25ทีม) ในการแข่งขันสร้างนวัตกรรมและโมเดลธุรกิจ ในกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Startup ประจำปี 2567 ภายใต้โครงการสร้างผู้ประกอบการ Micropreneur (GSB Micropreneur Academy)
ทีมนิสิตเจ้าของผลงานที่รับรางวัลชนะเลิศมีรายชื่อดังต่อไปนี้
🔸นางสาวศศิกร จึงเกษมโชคชัย ภาควิชาสังคมวิทยา
🔸นายธีร์ธัช สุรสุวรรณกุล ภาควิชานิเทศศาสตร์
🔸นายชลสิทธิ์ เกตชนก ศิษย์เก่าภาควิชาภาษาตะวันตก (สาขาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร)
นิสิตทีมดังกล่าวได้ส่งผลงานภายใต้ชื่อนวัตกรรม INNOMAG ซึ่งเป็นสารสกัด Mangiferin บริสุทธิ์ที่สุดเจ้าแรกของโลกและโมเดลธุรกิจที่เพิ่มคุณค่าให้ใบมะม่วงให้กลายเป็นสารสกัดที่สามารถต่อยอดสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรไทย
โดยผลงานนี้เป็นการต่อยอดมาจากงานวิจัยของ ผศ.ดร. อนันต์ อธิพรชัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สำหรับรางวัล นิสิตได้รับทุนการศึกษาจากธนาคารออมสิน ผลงานละ 50,000 บาท พร้อมเข้าสู่กิจกรรมจัดตั้ง Smart Startup Company by GSB Startup โดยธนาคารสนับสนุนเงินทุนในการก่อตั้งธุรกิจจากเงินกองทุนธนาคารออมสิน ตามแผนธุรกิจ ที่นำเสนอไม่เกินผลงานละ 200,000 บาท

นิสิตได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ (25ทีม) และรางวัล popular vote

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ (25ทีม) และรางวัล popular vote ในการแข่งขันสร้างนวัตกรรมและโมเดลธุรกิจ ในกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Startup ประจำปี 2567 ภายใต้โครงการสร้างผู้ประกอบการ Micropreneur (GSB Micropreneur Academy)
ทีมนิสิตเจ้าของผลงานที่รับรางวัลชนะเลิศมีรายชื่อดังต่อไปนี้
✨นายปิยะฉัตร มหาพงศ์ไพศาล (ภาควิชานิเทศศาสตร์)
✨นายปติภูมิ จากิจ (ศิษย์เก่าภาควิชาศาสนาและปรัชญา)
✨นางสาวจุฑามาศ ถนอมกุล (ศิษย์เก่าภาควิชาศาสนาและปรัชญา)า)
นิสิตทีมดังกล่าวได้ส่งผลงานภายใต้ชื่อนวัตกรรม JENNY WONG ซึ่งเป็นนวัตกรรมชุดคาบาเร่ต์ถอดประกอบได้เจ้าแรกของวงการโชว์ ที่เป็น BCG economy และยังเป็น Zero Waste โดยการนำเอาขยะ เช่น โฟมที่ไม่สามารถย่อยสลายได้รวมถึงขยะพลาสติกนำมาสร้างเป็นชุดคาบาเร่ต์โชว์ พร้อมทั้งนำเศษขนนกต่าง ๆ มาต่อยอดสร้างรายได้เพื่อส่งเสริมอาชีพต่อไป
สำหรับรางวัล นิสิตได้รับทุนการศึกษาจากธนาคารออมสิน ผลงานละ 50,000 บาท พร้อมเข้าสู่กิจกรรมจัดตั้ง Smart Startup Company by GSB Startup โดยธนาคารสนับสนุนเงินทุนในการก่อตั้งธุรกิจจากเงินกองทุนธนาคารออมสิน ตามแผนธุรกิจ ที่นำเสนอไม่เกินผลงานละ 200,000 บาท นอกจากนี้นิสิตได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท สำหรับรางวัล popular vote จากคณะกรรมการและพนักงานธนาคารออมสินทั่วประเทศ

คณะศึกษาดูงานจาก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดกิจกรรมสำหรับนิสิตของงานกิจการนิสิตและสโมสรนิสิต

โครงการส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการของนิสิต

วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการของนิสิต ในหัวข้อ “ปัจจัยเบื้องต้นในการก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการในอนาคต และ 3 หัวใจสู่การสร้าง ไอเดียธุรกิจและนวัตกรรมจาก Passion” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนิต โตอดิเทพย์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตและโครงสร้างพื้นฐาน เป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ นายปติภูมิ จากิจ ประธานกรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีโฮปเวลล์ จำกัด เป็นวิทยากร โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของนิสิตระดับปริญญาตรี ทางด้านการเป็นผู้ประกอบการและส่งเสริมให้นิสิตมีความรู้พื้นฐานที่จะสามารถใช้งานและพัฒนาต่อยอดในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพในโอกาสต่อไป

โครงการบริการวิชาการ หัวข้อ “เทคนิคการทำ PORTFOLIO สำหรับเข้ามหาวิทยาลัย”

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการบริการวิชาการ หัวข้อ “เทคนิคการทำ PORTFOLIO สำหรับเข้ามหาวิทยาลัย” โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดี เป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณพิลาศ กุลดิลก รองคณบดีฝ่ายการจัดการศึกษาและสื่อสารองค์กร เป็นวิทยากร อาจารย์ปวินนา เพ็ชรล้วน รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการบริการวิชาการ เป็นผู้ดำเนินรายการ นอกจากนี้ยังมีตัวแทนผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุนและนิสิตร่วมต้อนรับและให้ข้อมูลแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ
โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้แนวทางในการจัดทำแฟ้มสะสมผลงานและการสัมภาษณ์เข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา

คณบดีพร้อมด้วยตัวแทนผู้บริหาร บุคลากร เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติเกาหลีศึกษา ครั้งที่ 10

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พร้อมด้วยตัวแทนผู้บริหาร บุคลากร เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติเกาหลีศึกษา ครั้งที่ 10 ในหัวข้อ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับเกาหลีศึกษา” ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดขึ้นโดย
🔹คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (เจ้าภาพหลัก)
🔹คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
🔹ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชียของมูลนิธิเกาหลีเพื่อการศึกษาขั้นสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
🔹คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
🔹ศูนย์เกาหลีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
🔹คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🔹คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
🔹คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
พร้อมกันนี้ ตัวแทนจากทั้ง 8 สถาบันได้ร่วมลงนามในหนังสือรับรองความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมและยกระดับความก้าวหน้าทางวิชาการในศาสตร์ของเกาหลีศึกษาและไทยศึกษาร่วมกัน

ภาควิชาภาษาไทยจัดโครงการเสวนาผู้ประกอบการ

วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการเสวนาผู้ประกอบการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้ประกอบการ (ผู้ใช้บัณฑิต) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และนิสิต อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาหลักสูตรต่อไป

โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน หัวข้อ การผลิตสื่ออย่างง่ายด้วย Canva

วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน หัวข้อ การผลิตสื่ออย่างง่ายด้วย Canva โดยมีอาจารย์ปวินนา เพ็ชรล้วน รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการบริการวิชาการ เป็นประธานเปิดงาน และได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตวงทอง สรประเสริฐ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ เป็นวิทยากร

สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา ระดับหลักสูตร

วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2567 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2566 โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกษมสันต์ พานิชเจริญ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานิสิตและปฏิบัติการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นประธานกรรมการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชมณี ยืนยงพุทธกาล อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นกรรมการ