โครงการอบรมหัวข้อ เทคนิคการเขียน จัดพิมพ์ เผยแพร่หนังสือและตำรา

วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดอบรมหัวข้อ เทคนิคการเขียน จัดพิมพ์ เผยแพร่หนังสือและตำรา โดยได้รับเกียรติจาก คุณภูสิทธิ พลายชมภู บรรณาธิการบริหาร สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ เป็นวิทยากร โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำตำราและหนังสืออย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตำรา หนังสือต่อไป

นิสิตภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ที่ผ่านเข้ารอบระดับภูมิภาคกับโครงการ Experiential Learning Program (ELP)

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับ นายธนวิชญ์ แสงทอง นิสิตภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ที่ผ่านเข้ารอบระดับภูมิภาคกับโครงการ Experiential Learning Program (ELP) โดยนิสิตจะเข้าร่วมการแข่งขันระดับภูมิภาค ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 (จ.นครราชสีมา) ต่อไป
โครงการ ELP 2024 Experiential Learning Program เป็นการเฟ้นหาตัวแทนมหาวิทยาลัยบูรพา เข้าสู่เวทีการแข่งขันระดับประเทศเพื่อเป็น 1 ใน 35 คน เดินทางไปศึกษาดูงานในต่างประเทศกับบริษัทขนาดใหญ่ด้านธุรกิจ Startup เป็นเวลา 14 วัน ร่วมกับเพื่อน ๆ กว่า 16 มหาวิทยาลัย

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย” (Research Impact Evaluation)

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย” (Research Impact Evaluation) โดยได้รับเกียรติจาก ทีมประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของแผนงานวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่ สกสว. อันประกอบไปด้วย รศ.ดร.สุวรรณา ประณีตวตกุล รศ.ดร.กัมปนาท วิจิตรศรีกมล ผศ.ดร.นภสม สินเพิ่มสุขสกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยากร

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าศึกษาดูงาน

วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ผู้บริหารและบุคลากร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าศึกษาดูงาน ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พร้อมด้วยผู้บริหาร บุคลากร ให้การต้อนรับและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการปฏิบัติงานเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

อบรมการใช้งานระบบห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)

วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดอบรมการใช้งานระบบห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom) ให้แก่คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนได้เรียนรู้วิธีการใช้งานเพื่อใช้ประโยชน์จากห้องเรียนอัจฉริยะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ห้องเรียนดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองการเรียนรู้แนวใหม่แบบไร้ข้อจำกัด

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการขับเคลื่อนองค์กร ในหัวข้อ “การพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ฉบับปี 2567– 2570”

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการขับเคลื่อนองค์กร ในหัวข้อ “การพัฒนาองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ฉบับปี 2567– 2570” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมนูญ รัศมีมาสเมือง เป็นวิทยากร โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการ

นิสิตได้รับรางวัลจากโครงการสร้างผู้ประกอบการ Micropreneur (GSB Micropreneur Academy)

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับนิสิต ที่ได้รับรางวัลจากโครงการสร้างผู้ประกอบการ Micropreneur (GSB Micropreneur Academy) เพื่อค้นหา Smart Start Idea by GSB Startup (รอบระดับมหาวิทยาลัย)” ดังรายละเอียดต่อไปนี้
รางวัลชนะเลิศ
– นางสาวศศิกร จึงเกษมโชคชัย ภาควิชาสังคมวิทยา
– นายชลสิทธิ์ เกตชนก ภาควิชาภาษาตะวันตก (สาขา ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร)
(ผลงานภายใต้ชื่อนวัตกรรม INNOMAG ผลงานสารสกัด Mangiferin ที่บริสุทธิ์ที่สุดเจ้าแรกของโลก ซึ่งเป็นการต่อยอดมาจากงานวิจัยของ ผศ.ดร.อนันต์ อธิพรชัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา)
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2
– นายปติภูมิ จากิจ ภาควิชาศาสนาและปรัชญา
– นางสาวจุฑามาศ ถนอมกุล ภาควิชาศาสนาและปรัชญา
(ผลงานภายใต้ชื่อนวัตกรรม JENNY WONG ชุดคาบาเร่ต์ถอดประกอบได้เจ้าแรกของวงการโชว์ ที่สอดคล้องกับแนวคิด BCG economy และ Zero Waste )
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3

  • นายภาณุพงศ์ จิตหมั่น ภาควิชาศาสนาและปรัชญา
  • นางสาววรรทนา ริมศรีทอง ภาควิชาศาสนาและปรัชญา
    (ผลงานภายใต้ชื่อนวัตกรรม FABEN สเปรย์นวัตกรรมปรับพฤติกรรมสุนัขและแมว โดยเป็นการต่อยอดมาจากผู้ริเริ่มนวัตกรรมดั้งเดิมคือ นายธีร์ธัช สุรสุวรรณกุล ภาควิชานิเทศศาสตร์)
    ทั้งนี้นิสิตทั้ง 3 ทีมจะได้เข้าร่วมการประกวดผลงานระดับประเทศต่อไ

โครงการพัฒนาคุณภาพงานวิจัย เรื่อง การเขียนบทความอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์วารสารในฐาน Scopus

วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการพัฒนาคุณภาพงานวิจัย เรื่อง การเขียนบทความอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์วารสารในฐาน Scopus โดยมีวิทยากร ดังนี้

  • Associate Professor Dr. Alexander Trupp, Editor-in-chief of Advances in Southeast Asian Studies (ASEAS)
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ศศิวุฑฒิ์ วงษ์มณฑา หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (นักวิจัยดีเด่น รุ่นกลาง พ.ศ. 2566)
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กังวาฬ ฟองแก้ว อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (นักวิจัยดีเด่น ดาวรุ่ง พ.ศ. 2564)
    การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการเตรียมต้นฉบับอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย และส่งเสริมให้นักวิจัยพัฒนาคุณภาพงานวิจัยสู่สากลมากยิ่งขึ้น โดยมีคณาจารย์ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และผู้สนใจเข้าร่วมงาน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เข้าศึกษาดูงาน

วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี เข้าศึกษาดูงาน ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พร้อมด้วยผู้บริหาร บุคลากร ให้การต้อนรับและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงานระบบการจัดการนวัตกรรมเพื่อการบริการของสายสนับสนุน ด้านการบริหาร ด้านวิชาการและพัฒนานักศึกษา ด้านงานวิจัยและวารสาร ด้านการสื่อสารองค์กร ด้านการเงินและพัสดุ

โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA

วันที่ 29 เมษายน – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA หัวข้อ “การสร้างความเข้าใจในเกณฑ์ AUN-QA Version4″ ณ โรงแรม Centara Sonrisa Residence and Suites Sriracha จังหวัดชลบุรี โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัสนันท์ พ่วงเถื่อน ให้เกียรติเป็นวิทยากร
การจัดงานดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพสู่สากล เพื่อเตรียมแนวทางการรายงานผลการดำเนินงานของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ตามเกณฑ์ AUN-QA รวมถึงเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2566 โดยมีคณะผู้บริหาร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตรและบุคลากรสายสนับสนุนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการ