บุคลากรสายสนับสนุนเข้าร่วมกิจกรรม 5-Minute Tips & Tricks for Boosting Productivity

วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567 บุคลากรสายสนับสนุนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าร่วมกิจกรรม ( 5-Minute Tips & Tricks for Boosting Productivity ) ภายใต้ความร่วมมือ 6 สถาบัน ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดโดยกลุ่มงานอำนวยการและวิชาชีพ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
การจัดกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถช่วยกระตุ้นการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของผู้เข้าร่วมได้มากมาย ผ่านการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน ทั้งยังสามารถส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ตลอดจนการสร้างความเข้าใจต่อวัฒนธรรม และมุมมองต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการนำเสนอกว่า 18 หัวข้อ ผ่านโปรแกรม ZOOM

ต้อนรับ Assistant Professor Kim Hyung Min คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชุงนัม

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567 รองศาสตราจารย์ ดร. สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดี พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ตัวแทนคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และตัวแทนผู้บริหารวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพาให้การต้อนรับ Assistant Professor Kim Hyung Min คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชุงนัม (Chungnam National University) และคณะ ในโอกาสเยี่ยมชมและหารือเพื่อเตรียมสร้างความร่วมมือทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา และการฝึกอบรมระหว่างสองมหาวิทยาลัยต่อไป

นิสิตสาขาวิชาภาษาเกาหลีได้รับรางวัลการประกวดสุนทรพจน์จากมหาวิทยาลัยนัมโซล สาธารณรัฐเกาหลี

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตสาขาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก เนื่องในโอกาสได้รับรางวัลในการประกวดสุนทรพจน์จาก มหาวิทยาลัยนัมโซล สาธารณรัฐเกาหลี และได้รับคัดเลือกจากสถานีโทรทัศน์ KBS (Korean Broadcasting System) ให้ทำการส่งคลิปวิดีโอแบบ Vlog เพื่อออกอากาศในรายการ “세상의 아침밥” หรือ “อาหารเช้าทั่วโลก ดังนี้

  • นางสาวภัควลัญชญ์ หิงพุทรา นิสิตสาขาวิชาภาษาเกาหลีชั้นปีที่ 2 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
  • นางสาวนงนุช อภิเรืองฤทธิ์ นิสิตสาขาวงิชาภาษาเกาหลี ชั้นปีที่ 3 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3

โครงการส่งเสริมทักษะภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี

คณะอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี เข้าร่วมโครงการส่งเสริมทักษะภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี ร่วมกับนิสิตสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ 1 – 4 จำนวน 174 คน ระหว่างวันที่ 15 – 21 มกราคม พ.ศ. 2567 รวมชั่วโมงการดำเนินกิจกรรมทางวิชาการ 40 ชั่วโมงสำหรับกิจกรรมในโครงการ ได้แก่ การฝึกตั้งชื่อภาษาเกาหลี การแนะนำอาหารและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนเกาหลี การฝึกเต้นแบบฉบับเกาหลี การฝึกสร้างคลิปวิดีโอแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและวัฒนธรรมแต่ละฤดูกาล การเรียนรู้ mbti และการประยุกต์ใช้ อภิปรายผลกระทบของขยะมูลฝอยที่มีต่อสิ่งแวดล้อม การร่วมเก็บขยะที่ชายหาดบางแสนการ การฝึกเขียนพู่กันเกาหลี การประดิษฐ์อุปกรณ์ตราประทับชื่อเกาหลี การประดิษฐ์เครื่องประดับเกาหลี และการประดิษฐ์ว่าวเกาหลี เป็นต้น โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาและกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยแห่งชาติปูซาน เพื่อให้นิสิตได้เพิ่มพูนทักษะด้านภาษาและความรู้ด้านภาษาเกาหลี นิสิตได้พัฒนาสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ซึ่งครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4

ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง

วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์ภาควิชาศาสนาและปรัชญา และสาขาวิชาไทยศึกษา ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน จากหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาและคณาจารย์ในหลักสูตรได้เรียนรู้และนำประสบการณ์ไปพัฒนาหัวข้อวิจัย รวมทั้งแลกเปลี่ยนทางวิชาการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมี ผศ.ดร.ชัยณรงค์ ศรีมันตะ หัวหน้าภาควิชาศาสนาและปรัชญา และ ผศ.ดร.เทพพร มังธานี ประธานสาขาวิชาไทยศึกษาเป็นวิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนการพัฒนาหัวข้อวิจัยในครั้งนี้

ต้อนรับคณะอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี

วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมด้วยตัวแทนผู้บริหารและตัวแทนคณาจารย์สาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ให้การต้อนรับคณะอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งประกอบไปด้วย Prof. Hyoun Suk Kim และนิสิตอาสาสมัครชาวเกาหลี จากคณะศึกษาศาสตร์ เอกการสอนภาษาเกาหลี มหาวิทยาลัยแห่งชาติปูซาน รวม 8 คนที่เดินทางมาร่วมโครงการส่งเสริมทักษะภาษาและวัฒนธรรมเกาหลี โครงการนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างสาขาวิชาภาษาเกาหลี และกองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยแห่งชาติปูซาน โดยมหาวิทยาลัยปูซานได้ส่งคณะอาสาสมัครมาดำเนินกิจกรรมทางวิชาการทางด้านภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีให้กับ นิสิตสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ชั้นปีที่ 1 – 4 จำนวน 174 คน ระหว่างวันที่ 15 – 21 มกราคม พ.ศ. 2567 รวมชั่วโมงการดำเนินกิจกรรมทางวิชาการ 40 ชั่วโมง ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 แล้ว จุดประสงค์ของโครงการคือ นิสิตได้เพิ่มพูนทักษะด้านภาษาและความรู้ด้านภาษาเกาหลี รวมถึงพัฒนาสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21

คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมระบบการจัดการเรียนการสอน

วันที่ 19 มกราคม 2567 คณาจารย์และนิสิต ภาควิชาภาษาตะวันตก และภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าร่วมต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษา จากสาขาภาษาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมระบบการจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษของภาควิชาภาษาตะวันตกและภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อนำมาพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้นักศึกษามีความรู้ ทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
สำหรับคณะผู้เยี่ยมชมประกอบไปด้วยนักศึกษาจากสาขาภาษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการประกอบอาชีพ และอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 35 คน

ภาควิชานิเทศศาสตร์ จัดโครงการเสริมสร้างทักษะการสัมภาษณ์สำหรับนักนิเทศศาสตร์

วันที่ 18 มกราคม 2567 ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จัดโครงการ “เสริมสร้างทักษะการสัมภาษณ์สำหรับนักนิเทศศาสตร์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมความรู้และพัฒนาทักษะการสัมภาษณ์เพื่องานนิเทศศาสตร์ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 3 โดยได้รับเกียรติจากคุณธนานุช สงวนศักดิ์ สื่อมวลชนอิสระ และผู้ดำเนินรายการ Big Story ทาง ThaiPBS เป็นวิทยากร
โครงการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา เทคนิคการสัมภาษณ์ มีอาจารย์ประเสริฐ ช่วยแก้ว เป็นอาจารย์ผู้สอน โดยมุ่งหวังให้นิสิตได้เพิ่มพูนทักษะการสัมภาษณ์ ซี่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงานของนักนิเทศศาสตร์ รวมถึงโครงการดังกล่าวยังเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้รับความรู้และมุมมองใหม่ จากผู้มีประสบการณ์ตรงด้านนิเทศศาสตร์ เพื่อจะพัฒนาและเสริมสร้างทักษะด้านการสัมภาษณ์ให้แก่นิสิตในการประกอบอาชีพของนิสิตในอนาคตต่อไป

แสดงความยินดีกับบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เนื่องในโอกาสเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เนื่องในโอกาสเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุม PJ-301 ชั้น 3 อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยบูรพา (ศาสตราจารย์ประยูร จินดาประดิษฐ์) ตามรายชื่อดังนี้
🔹ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิไล ลิ่มถาวรานันต์ ภาควิชาภาษาตะวันออก
🔹ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญเชิด หนูอิ่ม ภาควิชาสังคมวิทยา
🔹ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวัต แสงสุริยงค์ ภาควิชาสังคมวิทยา
🔹นางลาวัลย์ เรศจะโปะ สำนักงานคณบดี

ภาควิชาภาษาตะวันออกจัดโครงการเพิ่มทักษะล่ามภาษาญี่ปุ่น

ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการเพิ่มทักษะล่ามภาษาญี่ปุ่น ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  • วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567 การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ โครงสร้างของโรงพยาบาล การทำงานของล่ามในโรงพยาบาล ศัพท์เฉพาะสำหรับโรคต่าง ๆ (เป็นภาษาญี่ปุ่น) ข้อควรปฏิบัติ ข้อควรระวัง ในการปฏิบัติงานล่ามในโรงพยาบาล และ Workshop ฝึกปฏิบัติการล่าม โดยได้รับเกียรติจาก คุณรสกร บัวแย้ม ล่ามภาษาญี่ปุ่น โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา เป็นวิทยากร
  • วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2566 การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับ วิสาหกิจญี่ปุ่นในประเทศไทย การทำงานกับชาวญี่ปุ่น สถานภาพ บทบาทของล่าม งานล่าม ปัญหา การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และ Workshop ฝึกปฏิบัติการล่าม โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์บุญชู ตันติรัตนสุนทร อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และประธานชมรมล่ามและนักแปลภาษาญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย เป็นวิทยากร
    โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเพิ่มพูนทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ในด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม อันได้แก่ การสื่อสารดี มีวิจารณญาณที่ดี และแก้ปัญหาเป็นให้แก่นิสิต และเพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีและเทคนิคการล่าม และเปิดโอกาสให้นิสิตได้ฝึกทักษะเบื้องต้นสำหรับการล่ามภาษาญี่ปุ่น