การรู้เท่าทันสื่อ


ปัจจุบันต้องยอมรับว่าโซเชียลมีเดียมีบทบาทสำคัญต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดทข่าวสาร ติดตามกระแสหรือเทรนด์ต่าง ๆ และโซเชียลมีเดียมีความสะดวกสบายในการใช้งาน เข้าถึงได้ง่าย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้คนนิยมใช้โซเชียลมีเดียไม่ว่าจะเป็นเด็กและผู้ใหญ่

ซึ่งโซเชียลมีเดียกับเยาวชนนับว่าเป็นดาบสองคมกับเยาวชนอย่างมาก เพราะว่าเยาวชนไม่สามารถกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารได้อย่างถี่ถ้วน ซึ่งอาจทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวที่อาจลอกเลียนแบบจากในโชเชียลมีเดีย ทำให้เกิดผลเสียต่อตนเองและคนรอบตัว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโซเชียลมีเดียมีแต่ผลเสียกับเยาวชน บางครั้งการอ่านข่าวหรือตามกระแสต่าง ๆ อาจเป็นการช่วยเตือนภัยหรือทำให้เยาวชนระมัดระวังตัวมากขึ้น

จากที่กล่าวมาว่าเราควรตระหนักถึงการใช้โซเชียลมีเดียของเยาวชน ซึ่งจากผลการสำรวจพฤติกรรมบริโภคสื่อของวัยรุ่นของบริษัท ซินโนเวต จำกัด ซึ่งเก็บข้อมูลจากกลุ่มอายุ 15-24 ปี ในหลาย ๆ ประเทศแถบเอเชีย พบว่า วัยรุ่นไทยมีการใช้อินเทอร์เน็ตสูงถึง 3.1 ชั่วโมงต่อวัน ครองแชมป์อันดับหนึ่งของเอเชีย โดยเสพติดทั้งอินเทอร์เน็ตและสังคมออนไลน์ เช่น เว็บพนันออนไลน์ เว็บลามก แสดงให้เห็นว่าเยาวชนไม่สามารถแยกแยะว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดีได้ อีกทั้งการใช้โซเซียลมีเดียอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจของเยาวชนอีกด้วย ซึ่งหากเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ อาจเกิดพฤติกรรมที่รุนแรงขึ้น จนบางครั้งอาจนำไปสู่อาชญกรรม และเยาวชนอาจคิดว่าตนยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไม่โดนโทษร้ายแรง

การรู้เท่าทันสื่อ คือ ความสามารถในการตีความ วิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของสื่อ สามารถโต้ตอบได้อย่างมีสติและรู้ตัว สามารถตั้งคำถามว่าสื่อถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร เช่น ใครเป็นเจ้าของสื่อ ใครผลิต และผลิตภายใต้ข้อจำกัดใด ควรเชื่อหรือไม่ หรือมีค่านิยมความเชื่ออะไรที่แฝงมากับสื่อนั้น ผู้ผลิตสื่อหวังผลอะไรจากเรา ซึ่งการรู้เท่าทันสื่อ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่

1.การเปิดรับสื่อ การรู้เท่าทันการเปิดรับสื่อของประสาทสัมผัสของเรา ซึ่งเมื่อเปิดรับแล้วสมองจะสั่งการให้คิดและปรุงแต่งให้เกิดอารมณ์ต่าง ๆ ตามมา การรู้เท่าทันสื่อในขั้นของการรับรู้อารมณ์ตนเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องแยกความคิดและอารมณ์ออกจากกัน และความคิดจะทำให้เรารับรู้ความจริงว่า อะไรเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นต้น

2.การวิเคราะห์สื่อ การแยกแยะองค์ประกอบในการนำเสนอของสื่อว่ามีวัตถุประสงค์อะไร เป็นสื่อประเภทใด และต้องการที่จะสื่ออะไรกับผู้รับสาร

3.การเข้าใจสื่อ ตีความสื่อหลังจากเปิดรับสื่อไปแล้ว เพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่สื่อนำเสนอ ซึ่งผู้รับสารแต่ละคนก็จะมีความเข้าใจสื่อได้ไม่เหมือนกัน ตีความไปคนละแบบ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ พื้นฐานการศึกษา คุณสมบัติในการเรียนรู้ ตลอดจนการรับรู้ข้อมูลของแต่ละบุคคลที่ไม่เท่ากันมาก่อน

4.การประเมินค่า หลังการวิเคราะห์และทำความเข้าใจสื่อแล้ว เราควรประเมินค่าสิ่งที่สื่อนำสนอว่ามีคุณภาพและคุณค่ามากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหา สื่อ เป็นต้น

5.การใช้สื่อให้เกิดประโยชน์ นำสิ่งที่เราได้จากสื่อมาใช้ให้เกิดประโยน์กับตนเองและคนรอบตัว

ดังนั้น การรู้เท่าทันสื่อ จึงเป็นสิ่งจำเป็นกับเยาวชน ทำให้เยาวชนสามารถแยกแยะและสามารถเลือกรับสื่อที่เป็นประโยชน์กับตนเองและคนรอบตัวได้ โดยไม่ส่งผลกระทบในทางที่ไม่ดีต่อตัวของเยาวชน แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ปกครองที่ต้องปลูกฝังกับเยาวนชนด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ต่อเยาวชนและผู้คนรอบตัว

รายการอ้างอิง

 Patcharee Bonkham. (2560). 5 องค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/39558-5%20 elements of media literacy.html

on Freevisitorcounters.com