นิเทศศาสตร์กับการเมือง


การสื่อสาร นับว่าเป็นสิ่งสำคัญของกระบวนการทางการเมือง เพราะการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสัมพันธ์กับผู้คน ต้องใช้การสื่อสารเพื่อสื่อสารแลกเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดของนักการเมือง  ทั้งในด้านการรับรู้และการถ่ายทอด ในกลุ่มประชาชนและผู้ที่มีบทบาททางการเมือง โดยอย่างยิ่งในยุคสมัยปัจจุบันที่ผู้คนต่างได้รับการศึกษา มีความคิด ทัศนคติที่หลากหลาย จึงจำเป็นต้องมีรูปแบบสื่อสารเข้ามาใช้ในการสื่อสารทางการเมือง

รูปแบบการสื่อสารทางการเมือง แบ่งได้ออกเป็น 2 แบบ

1.การสื่อการระหว่างผู้สื่อสารกับผู้รับสาร

เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐาน และมีประสิทธิภาพที่สุดโดยผู้สื่อสาร ได้รับรู้โต้ตอบกับผู้รับสาร อีกทั้งผู้รับสารก็ยังสามารถเป็นผู้สื่อสาร ส่งไปถึงผู้รับสาร (ผู้ส่งสารที่1) สามารถโต้ตอบ แลกเปลี่ยนความคิด ตอกย้ำให้ผู้รับสารคล้อยตามได้ในทันที

2.การสื่อสารผ่านสื่อมวลชน ความสามารถในการสื่อสารโดยผ่านสื่อมวลชนจะมีอิทธิพลมากกว่าการสื่อสารระหว่างผู้สื่อสารกับผู้รับสาร โดยสามารถสื่อสารไปยังผู้รับสารได้จำนวนมาก ซึ่งย่อมมีอิทธิพลต่อความคิดของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การสื่อสารแบบนี้เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว เนื่องจากสื่อนำเสนอข่าวสารเพียงด้านเดียว เอียงไป ทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือด้านใดด้านหนึ่ง จนมองว่าละเลยเสนออีกบางส่วน โดยการกระทำในลักษณะนี้คือ การสร้างกรอบ (Frame) เสมือนกำหนดให้ผู้ชมรับรู้ เฉพาะสิ่งที่นำเสนอ และละเลยส่วนอื่นๆ ที่ไม่ได้นำเสนอ สื่อมวลชนจึงมีบทบาทในการกำหนดประเด็น ส่งผลต่อการรับรู้ทั้งด้านบวก และด้านลบ

การสื่อสารทางการเมืองในยุคปัจจุบัน

นับตั้งแต่โลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล การสื่อสารต้องปรับเปลี่ยนเครื่องมือให้ทันตามยุคสมัย ตามความนิยมของสังคม เพื่อให้ข้อมูลในการสื่อสารแพร่กระจายสู่ผู้คนมากที่สุด   

ในขณะเดียวกันประชาชนสามารถกระจายข้อมูลข่าวสารผ่านเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ที่เข้าถึงได้ในยุคปัจจุบัน คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประชาชนสามารถเป็นได้ทั้งผู้รับสาร และผู้ส่งสารไปยังผู้มีบทบาททางการเมือง

“…ประชาชนทั่ว ๆ ไปที่ไม่ได้ผ่านการฝึกฝนให้เป็นนักข่าวมืออาชีพ แต่สามารถใช้เครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีอันทันสมัย รวมถึงการใช้อินเทอร์เน็ตในการสร้างสรรค์ โต้แย้ง หรือตรวจสอบข้อมูลของสื่อด้วยตัวเอง…”

การสื่อสารทางการเมือง เป็นกระบวนการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร ทั้งคำพูด ข้อความ สัญลักษณ์ ภาพลักษณ์ โดยผู้มีบทบาททางการเมืองได้สื่อไปยังประชาชนเพื่อให้ประชาชนรับทราบในสิ่งที่รัฐบาลกำลังจะทำ หรือให้ปฏิบัติเป็นไปตามที่รัฐบาลต้องการ ขณะที่ในสังคมประชาธิปไตย ประชาชนเองก็ยังสามารถสื่อไปยังรัฐบาล เพื่อให้ทราบถึงความต้องการโดยผ่านเครื่องมือการสื่อสารที่หลากหลาย

รายการอ้างอิง

ณมน จีรังสุวรรณ และกฤษฎา ทวีศักดิ์ศร. (2555). การวิเคราะห์ผลกระทบทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารกับนักสื่อสารมวลชนอิเล็กทรอนิกส์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 19(1), 146-162.

เพิ่มพร ณ นคร และณัฏฐ์วัฒน์ ธนพรรณสิน. (2560). การใช้ทฤษฎีบทบาทหน้าที่ของสื่อกับสื่อมวลชน. วารสารการสื่อสารมวลชนคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(2), 144-163.

on Freevisitorcounters.com