วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะด้านไอทีในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน หัวข้อ การใช้โปรแกรม CANVA สำหรับการจัดทำ Clip การสอน เพื่อพัฒนาสู่การผลิตรายวิชา BUU MOOC สำหรับคณาจารย์และบุคลากรในภาควิชาภาษาตะวันออก ซึ่งเป็นโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายการบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ด้านพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะและมีความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ โดยมี ผศ.ดร.ตวงทอง สรประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ เป็นวิทยากร
สอบสัมภาษณ์รับบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี รอบ 3 (TCAS 3: Admission)
วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดสอบสัมภาษณ์รับบุคคลเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี รอบ 3 (TCAS 3: Admission) จำนวน 14 หลักสูตร โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตปัจจุบันร่วมให้การต้อนรับผู้ปกครองและผู้สมัครเข้าศึกษา
นิสิตได้รับรางวัลในการแข่งขันสร้างนวัตกรรมและโมเดลธุรกิจ Startup Thailand League2024 ระดับมหาวิทยาลัย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลในการแข่งขันสร้างนวัตกรรมและโมเดลธุรกิจ Startup Thailand League2024 (ระดับมหาวิทยาลัย) โดยมีรายละเอียดดังนี้
🎉รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1
- นายปิยะฉัตร มหาพงศ์ไพศาล ภาควิชานิเทศศาสตร์
- นางสาวธนัชพร ทาริยะ ภาควิชานิเทศศาสตร์
- นายปติภูมิ จากิจ ภาควิชาศาสนาและปรัชญา
🎉รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 - นายสุดเขตต์ แสนเจริญ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
- นางสาวศศิกร จึงเกษมโชคชัย ภาควิชาสังคมวิทยา
- นางสาวจุฑามาศ ถนอมกุล ภาควิชาศาสนาและปรัชญา
โดยนิสิตจะเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยบูรพาเพื่อเข้าแข่งขัน Startup Thailand League 2024 ในระดับภูมิภาคและระดับประเทศต่อไป
อบรมหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตร The Art of Communication
วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตร The Art of Communication ให้กับพนักงานบริษัท เอ็น เอส เค แบริ่งส์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีอาจารย์ ดร.ชนัญญา สร้อยทอง อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยาเป็นวิทยากร การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการวิชาการความรู้ ความเชี่ยวชาญศาสตร์ ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ให้กับชุมชนและสังคมในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก
โครงการเสริมสร้างความรู้และทักษะของคณาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning
วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการเสริมสร้างความรู้และทักษะของคณาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning สำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไป โดยกิจกรรมประกอบไปด้วย
🔹การหารือแนวทางการบริหารจัดการรายวิชาศึกษาทั่วไปที่รับผิดชอบโดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
🔹การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning
🔹การพัฒนาแนวทางการสอนในแต่ละรายวิชาให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในระดับรายวิชา (CLOs)
โดยมี รศ.ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตัวแทนผู้บริหารคณะฯ คณาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผู้ประสานงานรายวิชา และผู้สอนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เข้าร่วมโครงการ
ประชุมหารือร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อกำหนดกรอบการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประชุมหารือร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อกำหนดกรอบการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.สฎายุ ธีระวณิชตระกูล คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมด้วย รองคณบดี หัวหน้าภาควิชา คณาจารย์ และบุคลากรของทั้ง 2 คณะ เข้าร่วมประชุม
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นประชุมทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดประชุมทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ประจำปีการศึกษา 2566 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พราวพรรณ พลบุญ ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาตะวันออก ประธานคณะกรรมการบริหารวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาตะวันออก และประธานคณะกรรมการบริหารวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานกรรมการ ทั้งนี้ คณาจารย์สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นร่วมประชุมการทวนสอบฯ ผ่านการประชุมทางไกลออนไลน์
โครงการอบรมหัวข้อ เทคนิคการเขียน จัดพิมพ์ เผยแพร่หนังสือและตำรา
วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดอบรมหัวข้อ เทคนิคการเขียน จัดพิมพ์ เผยแพร่หนังสือและตำรา โดยได้รับเกียรติจาก คุณภูสิทธิ พลายชมภู บรรณาธิการบริหาร สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ เป็นวิทยากร โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำตำราและหนังสืออย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตำรา หนังสือต่อไป
นิสิตภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ที่ผ่านเข้ารอบระดับภูมิภาคกับโครงการ Experiential Learning Program (ELP)
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับ นายธนวิชญ์ แสงทอง นิสิตภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ที่ผ่านเข้ารอบระดับภูมิภาคกับโครงการ Experiential Learning Program (ELP) โดยนิสิตจะเข้าร่วมการแข่งขันระดับภูมิภาค ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 (จ.นครราชสีมา) ต่อไป
โครงการ ELP 2024 Experiential Learning Program เป็นการเฟ้นหาตัวแทนมหาวิทยาลัยบูรพา เข้าสู่เวทีการแข่งขันระดับประเทศเพื่อเป็น 1 ใน 35 คน เดินทางไปศึกษาดูงานในต่างประเทศกับบริษัทขนาดใหญ่ด้านธุรกิจ Startup เป็นเวลา 14 วัน ร่วมกับเพื่อน ๆ กว่า 16 มหาวิทยาลัย
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย” (Research Impact Evaluation)
วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย” (Research Impact Evaluation) โดยได้รับเกียรติจาก ทีมประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของแผนงานวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่ สกสว. อันประกอบไปด้วย รศ.ดร.สุวรรณา ประณีตวตกุล รศ.ดร.กัมปนาท วิจิตรศรีกมล ผศ.ดร.นภสม สินเพิ่มสุขสกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยากร