วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ตัวแทนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา นำโดย รศ.ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดี เข้าร่วมพิธีเปิดงาน Space Night Festival 2024 : SNF2024 ณ Space Inspirium อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งจัดขึ้นโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) : สทอภ.
การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างสังคมแห่งการรับรู้ เกิดการเผยแพร่ข้อมูลด้านเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศให้เป็นที่รู้จักแก่เครือข่ายและประชาชนทั่วไปมากยิ่งขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกระดับได้สัมผัส เรียนรู้ความแปลกใหม่ของแหล่งเรียนรู้Space Inspirium ในยามค่ำคืน ตลอดจนเพื่อพบปะเครือข่ายพันธมิตรที่จะสนับสนุนและทำงานร่วมกันอันจะนำไปสู่ความร่วมมือด้านกิจกรรมอวกาศในอนาคต
โครงการฝึกทักษะอาชีพสายงานภาษาญี่ปุ่น
วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการฝึกทักษะอาชีพสายงานภาษาญี่ปุ่น ในรูปแบบการบรรยายพิเศษหัวข้อ “Microsoft Excel ที่ควรรู้ ใช้ให้เป็นก่อนทำงาน” โดยได้รับเกียรติจาก คุณณัฐวุฒิ วิลัยพัฒน์ วิศวกรจัดซื้อ แผนกจัดซื้อ บริษัท อีซูซุโลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นวิทยากร
โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นิสิตเกิดกระบวนการเรียนรู้ ฝึกทักษะกระบวนการคิดและเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพให้แก่นิสิตก่อนสำเร็จการศึกษา
โครงการฝึกทักษะอาชีพสายงานภาษาญี่ปุ่น
วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการฝึกทักษะอาชีพสายงานภาษาญี่ปุ่น บรรยายพิเศษหัวข้อ “เทคนิคการล่ามภาษาญี่ปุ่น” โดยได้รับเกียรติจาก คุณบัณฑิต ประดิษฐานุวงศ์ นักแปล ล่ามอิสระ เป็นวิทยากร
โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเพิ่มพูนทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม อันได้แก่ การสื่อสารดีมีวิจารณญาณที่ดีและแก้ปัญหาเป็นให้แก่นิสิต อีกทั้งเพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีและเทคนิคการล่าม เปิดโอกาสให้นิสิตได้ฝึกทักษะเบื้องต้นสำหรับการล่ามภาษาญี่ปุ่น
โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง สำนักงานสีเขียว (Green Office)
วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง สำนักงานสีเขียว (Green Office) เพื่อชี้แจงเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียวให้หน่วยงานสามารถประเมินสำนักงานสีเขียวด้วยตนเองเบื้องตน อีกทั้งเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับบุคลากร เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานและสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
โครงการนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.โกวิท สุวรรณหงษ์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิขาการและนวัตกรรม และ ผศ.ดร.รจฤดี โชติกาซินทร์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตและสื่อสารองค์กร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นวิทยากร
โครงการพัฒนาคุณภาพงานวิจัย
วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการพัฒนาคุณภาพงานวิจัย หัวข้อ การพัฒนาโจทย์วิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สู่การขับเคลื่อนเชิงพื้นที่และการตีพิมพ์ระดับนานาชาติ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.กุลธิดา ท้วมสุข อุปนายกสภา มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นวิทยากร
การจัดโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถพัฒนาโจทย์วิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สู่การใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ สร้างผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมได้ รวมถึงสามารถพัฒนางานวิจัยทางสังคมศาสตร์สู่การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติได้
โครงการ HUSO MUSIC FESTIVAL 2024
วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567 สโมสรนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการ HUSO MUSIC FESTIVAL 2024 เพื่อสร้างความผ่อนคลาย ใช้ดนตรีบำบัดความเครียดให้แก่นิสิต สนับสนุนการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเป็นพื้นที่ในการแสดงความสามารถของนิสิตที่มีศักยภาพทางดนตรีอีกด้วย
โครงการนี้ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดี เป็นประธานเปิดงาน และภายในงานมีการประกวดทักษะต่าง ๆ ดังนี้
🎉การประกวดซุ้ม SDGs
- รางวัลชนะเลิศ: ภาควิชาจิตวิทยา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: ภาควิชาสารสนเทศศึกษา
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
- รางวัลชมเชย: ภาควิชาสังคมวิทยา และภาควิชาศาสนาและปรัชญา
🎉การประกวด Cosplay - รางวัลชนะเลิศ: นางสาวนารีรัตน์ ฟุ้งเฟื่อง คณะศึกษาศาสตร์
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: นางสาวนฤภร เชยชม คณะดนตรีและการแสดง
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: นางสาวณัฏฐณิชา ทองโคตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- รางวัลชมเชย: นางสาวนิชดา วงษ์บรรเทา คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ และนางสาวปวันรัตน์ สิมมา คณะดนตรีและการแสดง
🎉การประกวด Cover Dance - รางวัลชนะเลิศ: วง Soul-Pollution สมาชิกประกอบด้วย
- ธนภัทร เทนสิทธิ์ คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์
- จิตรลดา บุตรแสง คณะมนุษย์และสังคมศาสตร์
- พีระพัฒน์ ทาสีแก้ว คณะดนตรีและการแสดง
- มนัสนันท์ ศิริทูลธรรม คณะบริหารธุรกิจ
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: วง ALPHA UNITED สมาชิกประกอบด้วย
- ปานฤทัย หันตุลา คณะดนตรีและการแสดง
- ขวัญฤดี เหล่ามูล คณะดนตรีและการแสดง
- ธนดล รัตนไพศาล คณะดนตรีและการแสดง
- ปวริศา นำเพ็ง คณะดนตรีและการแสดง
- ธีระเทพ หมั่นการ คณะดนตรีและการแสดง
- ของขวัญ ยอดสาย คณะดนตรีและการแสดง
- วงศธร กรรเจียก คณะดนตรีและการแสดง
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: วงOnce upon a time สมาชิกประกอบด้วย
- รชต แสวงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- จิรภิญญา ประจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ปิติยา นิลคช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- วิชญาภรณ์ หุตะเจริญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ชลทิพย์ ชูแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- สุกฤตา หมื่นสุขพร คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
- พิมพ์พิชชา สิริญานันต์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- นับเดือน ขุนสวัสดิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ลลิต ชิตแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- รางวัลชมเชย: วง Oops! สมาชิกประกอบด้วย
- ภิชาดา ถาวรนุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- กฤติน เสนาะจำนงค์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- กมลภพ เป็งจาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ปทิตตา โนรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- รางวัลชมเชย: วง Lycoris สมาชิกประกอบด้วย
- นันท์นภัทร ทิพขัน คณะบริหารธุรกิจ
- นรีกานต์ กุยสาย คณะศึกษาศาสตร์
- สุชานาถ อินทปิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- อภิชญาภา ไชยวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- อชิรญา เวียงคำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- รางวัลชมเชย: วง Gayotic สมาชิกประกอบด้วย
- ณัชพล คงแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- วรปรัชญ์ โยธะคง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ณิชาพัชร์ ธรรมารมณ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- บุณยวีร์ คล้ายเมือง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
🎉การประกวด Folk Song สมาชิกประกอบด้วย
- รางวัลชนะเลิศ: วง FOLK_LIFT
- อัญธิญาน์ เตโชพัฒน์ธนชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- กฤษณกร จันดาแพง ดนตรีและการแสดง
- ณฐพล เชี่ยวชาญ ดนตรีและการแสดง
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: วง Pixel สมาชิกประกอบด้วย
- มิญชะญา ยังให้ผล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- สุหฤท ภาณุนันทน์ คณะดนตรีและการแสดง
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2: วง The panic eadzy สมาชิกประกอบด้วย
- จูอึน อิม คณะดนตรีเเละการเเสดง
- ภานุพงษ์ สงเสนา คณะดนตรีและการแสดง
- กันทรากร พุทธารักษ์ คณะดนตรีและการแสดง
- รางวัลชมเชย: วง slip n fall สมาชิกประกอบด้วย
- เจนจิรา ศรีเสมอ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- สุทธิพงศ์ เนียมปาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- รุจิภาส ปัญญาชน คณะวิทยาการสารสนเทศ
- รางวัลชมเชย: วงพร้อมแจ๊บ สมาชิกประกอบด้วย
- วราวิชญ์ ศิริอิทธิวงษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ศาสตราศิลป์ พงศ์สุด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- สุธาศิณี พึ่งประเสริฐพานิช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โครงการฝึกทักษะอาชีพสายงานภาษาญี่ปุ่น หัวข้อ “เทคนิคการพูดแบบโฆษกหรือพิธีกร”
วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการฝึกทักษะอาชีพสายงานภาษาญี่ปุ่น หัวข้อ “เทคนิคการพูดแบบโฆษกหรือพิธีกร” โดยรับเกียรติจาก คุณจิรัฏฐิกา มะลิลาพันธุ์ Accounting Co-Ordinator & interpreter, บริษัท คิริว (ประเทศไทย) จำกัด (Kiriu (Thailand) Co., Ltd.) เป็นวิทยากร
โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นิสิตเกิดกระบวนการเรียนรู้ ฝึกทักษะกระบวนการคิดและเตรียมความพร้อมด้านทักษะอาชีพให้แก่นิสิตก่อนสำเร็จการศึกษา
ได้รับรางวัลในการแข่งขันทักษะทางภาษาฝรั่งเศส
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร ภาควิชาภาษาตะวันตก ที่ได้รับรางวัลในการแข่งขันทักษะทางภาษาฝรั่งเศส ในงานกิจกรรมประจำปี 2567 ครั้งที่ 45 จัดโดยสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ (ATPF) ดังนี้
1) รางวัลที่ 2 การแข่งขันเขียนและเล่านิทานเป็นภาษาฝรั่งเศส ระดับอุดมศึกษา 🇫🇷
– นางสาวพนิตพิชา สุขจิรพิบูลย์
– นางสาวชนากานต์ พรพงศกร
– นางสาวจณิสตา ทองเพชร
– นางสาวกชพรรณ สุขเกษม
– นางสาวรัชนีกร มุมทอง
2) รางวัลที่ 3 การแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ภาษาฝรั่งเศส ระดับอุดมศึกษา 🇫🇷
– นางสาวลลิตา ชมพันธ์
รับพระราชทานของที่ระลึกจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อาจารย์เสกสรร พรมเกษา อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เข้ารับพระราชทานของที่ระลึกจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะกรรมการบริหารสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ และผู้รับผิดชอบโครงการอบรมภาษาต่างประเทศ (ภาษาฝรั่งเศส) ให้กับพระธรรมทูตและบุคคลทั่วไป ประจำปี 2567 เนื่องในโอกาสงานกิจกรรมประจำปี 2567 ครั้งที่ 45 ของสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ฯ เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม 2567 ณ โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา เขตบางรัก กรุงเทพฯ
รางวัลการนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการระดับชาติ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาสารสนเทศศึกษา ที่คว้ารางวัลจากการนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการระดับชาติ
“การจัดการศึกษาและวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ครั้งที่ 2 (The 2nd National Conference on Education Management, Library & Information Science Research for SDGs) จัดโดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ
🏆 รางวัลชนะเลิศ:
“การพัฒนาระบบสารสนเทศศิษย์เก่าบนระบบคลาวน์ด้วยกระบวนการอะไจล์: แนวทางสู่การจัดการข้อมูลที่ยั่งยืน”
ผู้นำเสนอ: นางสาวแพรพิชชา เอี่ยมปรีชากุล และนางสาวรัชพร รุ่งถาวร (นิสิตชั้นปีที่ 3)
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร. อัครา ธรรมสถิตย์กุล
🏅 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1:
การวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการเลือกใช้โซเชียลมีเดียในการติดตามข้อมูลข่าวสารของนิสิตสาขาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา”
ผู้นำเสนอ: นางสาวณภัสสรณ์ อัครเดชเรืองศรี และนางสาวจิญาภา จันทร์เกตุ (นิสิตชั้นปีที่ 4)
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร. ขวัญชฎิล พิศาลพงศ์
👏 นอกจากนี้ยังมีนิสิตชั้นปีที่ 2 และ 3 อีก 12 คน ที่ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลงาน 6 เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในรูปแบบดิจิทัลคอนเทนต์
- การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมแบบสามมิติด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพื่อส่งเสริมสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัดแสนสุข จังหวัดชลบุรี (ผู้นำเสนอ นางสาวกันยารัตน์ กมลนาวิน และ นางสาวไอริณ เหลืองอ่อน)
- การออกแบบและพัฒนาบอร์ดเกมเรื่อง Inside Out เปิดโลกภายในร่างกาย (ผู้นำเสนอ นายชญาณ์นันท์ พานิช และนายวิชญ์ภาส โพธิ์ศรี)
- การออกแบบและพัฒนาสื่อดิจิทัล เรื่องเสน่ห์ของฝากหนองมน จากท้องถิ่นสู่ดิจิทัล (ผู้นำเสนอ นางสาวญาณิดา ศรีระสา และนางสาวสุพิชฌาย์ รสจันทร์)
- การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่อง สัมผัสโลกใต้ทะเลบางแสน ผ่านสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืน (ผู้นำเสนอ นางสาวชาลินี เกษตรบริบูรณ์ และนางสาวธันญณัฐภ์ น้อยปุก)
- การสร้างดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดน้ำสี่ภาค (ผู้นำเสนอ นางสาวปิยะธิดา นารี และนางสาวพัชริดา สุวรรณ์)
- การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อส่งเสริมคุณค่าและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เกาะลอยอย่างยั่งยืน (ผู้นำเสนอ นางสาวชลธิชา เจ๊ะหวัง และนางสาวสุกฤตา หมื่นสุขพร)
ขอแสดงความยินดีและขอบคุณสำหรับความมุ่งมั่นและความพยายามของทุกคนที่ทำให้เราได้รับรางวัลในครั้งนี้