การประชุมร่วมกับผู้แทนจาก Cyber Hankuk University of Foreign Studies สาธารณรัฐเกาหลี

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ผศ.ดร.ธัญญารัตน์ สงวนศรี หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก พร้อมด้วย ดร.พัชรยา ปาลสุทธิ์ หัวหน้าสาขาวิชาภาษาเกาหลี และ ผศ.อุไรวรรณ จิตเป็นธม คิม เข้าร่วมการประชุมร่วมกับผู้แทนจาก Cyber Hankuk University of Foreign Studies สาธารณรัฐเกาหลี ได้แก่ Prof. Dr. Lee Min Woo (Head of Department of Korean) และ Prof. Dr. Chin Chongnan (Dean of Global Education Institute) ณ ห้อง QS2-602 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อหารือความร่วมมือในโครงการ KF Global e-School และแนวทางการดำเนินการทางด้าน Visiting Program สำหรับนิสิตสาขาวิชาภาษาเกาหลีในอนาคต

สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น จัดโครงการ “2024 Short-term Academic Exchange Program”

วันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ได้จัดโครงการ “2024 Short-term Academic Exchange Program” ภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการกับ Toyo University ประเทศญี่ปุ่น โดยศาสตราจารย์ Kazuo Takahashi Department of Regional Development Studies, Faculty of Global and Regional Development Studies พร้อมด้วยนักศึกษาชาวญี่ปุ่นจำนวน 9 คน จัดกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 และ หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก คณาจารย์สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น รวมจำนวน 86 คน กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่น ผ่านการทำกิจกรรม Group Discussion และ Study Trip โดยใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นสื่อกลางในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมไทย-ญี่ปุ่น ทำให้นิสิตมีโอกาสฝึกฝนทักษะทางปัญญาและทักษะการใช้ภาษาญี่ปุ่น และเพื่อส่งเสริมทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มากยิ่งขึ้น

ตัวแทนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าร่วมกิจกรรม “ค่ายสานสัมพันธ์มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6 สถาบัน ครั้งที่ 8”

ตัวแทนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าร่วมกิจกรรม “ค่ายสานสัมพันธ์มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6 สถาบัน ครั้งที่ 8” ฮอม ฮีต ฮอย : 6 ทศวรรษ มช. 6 สถาบัน สานพลังสู่ชุมชน ในวันที่ 12 – 18 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงเรียนบ้านทุ่งเสี้ยว (นวรัฐ) อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม จากทั้ง 6 สถาบัน ประกอบไปด้วย
🔹คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🔹คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
🔹คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
🔹คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
🔹คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
🔹คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ซึ่งในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพต้อนรับผู้มาเยือนอย่างอบอุ่น

นายเจริญ มูลสาร นิสิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขันทักษะเปิดพจนานุกรม(คันจิ-ไทย) ครั้งที่ 3

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับ นายเจริญ มูลสาร นิสิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขันทักษะเปิดพจนานุกรม(คันจิ-ไทย) ครั้งที่ 3 Mainichi dictation contest ระดับอุดมศึกษา ในงาน Study in Japan Fair ครั้งที่ 49 จัดโดยไมนิจิ อะคาเดมิคกรุ๊ป เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ภาควิชาภาษาตะวันออก จัดงาน Theme : “The Secret of Moonlight” – ความลับของแสงจันทร์

ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดงานใน Theme : “The Secret of Moonlight“ – ความลับของแสงจันทร์ ซึ่งในปีนี้เป็นการจัดงานร่วมกันของทั้ง 3 สาขาวิชา เกาหลี จีน และญี่ปุ่น โดยแต่ละสาขาได้เตรียมกิจกรรม เกมส์ และการแข่งขันต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาเข้าร่วมทั่วภาคตะวันออก โดยผลการแข่งขันมีดังนี้
🎉การแข่งขันร้องเพลงจีน (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)

  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาว ดลพร อัครพลศานต์ โรงเรียนชลกันยานุกูล
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่นางสาว พินณัฐสรา อ่อนท้วม โรงเรียนชลกันยานุกูล
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่นางสาว นภาพร สัตย์ธรรม โรงเรียนลานสักวิทยา
    🎉การแข่งขันร้องเพลงจีน (ระดับอุดมศึกษา)
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาว อนันตา คำรอด มหาวิทยาลัยบูรพา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาว นันท์นภัส พิพัฒน์บุญมา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่นาย ชาชา ลี มหาวิทยาลัยบูรพา
    🎉การแข่งขันเล่านิทานจีน
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาว ธนพร วงศ์คำดี โรงเรียนระยองวิทยาคม
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาว นวพร มงคลธีระสกุล โรงเรียนชลกันยานุกูล
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่นางสาว นันทญา ลานคำรัตน์ โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
    🎉การแข่งขันสุนทรพจน์จีน (ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่นางสาว สมฤดี เมืองกุดเรือ โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาว จันจิรา ยังศิริพรชัย โรงเรียนชลกันยานุกูล
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายณัฐภัทร ทัศดร โรงเรียนระยองวิทยาคม
    🎉การแข่งขันสุนทรพจน์จีน (ระดับอุดมศึกษา)
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาว สุพนิดา ปรากฏหาญ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่นางสาว อชิรญา ชีวินวรศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวจีรนันท์ วิภวานี มหาวิทยาลัยบูรพา
    🎉การแข่งขันคัดลายมือจีน
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาว นวพร มงคลธีระสกุล โรงเรียนชลกันยานุกูล
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาว ธัสสุนันท์ สัตย์รัมย์ โรงเรียนสุรศักดิ์วิทยาคม
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาว พัทธ์ธีรา นาคะปักษิน โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
    🎉การเเข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายกฤษณพล เกษสาคร โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 ได้แก่ นางสาวศศิพัชร์ พันธ์เจริญ โรงเรียนศรีราชา ชลบุรี
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ2 ได้แก่ นางสาวพลอยนภัส มลิวัลย์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้นครศรีธรรมราช
    🎉การแข่งขันความรู้ตัวอักษรคันจิ
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวรัญชิดา พ่วงรักษ์ โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่นางสาวพีรดา ศิลปนาฎ โรงเรียนชลกันยานุกูล
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายกรวีย์ พรรัศมีพรหม โรงเรียนเทพศิรินทร์ นนทบุรี
    🎉การแข่งขันแสดงนิทาน ภาษาญี่ปุ่น
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร อุดรธานี
    (1.นายกฤษณะพล พลรักษา 2.นายทีฑทัศน์ จุลสราญพงษ์ 3.นายอาชิตะ กระแสร์ 4.นางสาวจันทิมา พันเถร
    5.นางสาวกมลพัชร โพธิ์บาย)
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนวัดป่าประดู่
    (1.นายวันนิวัตร โพธิชัยชนะพล 2.นางสาวเบญญาภา ควรหา 3.นางสาวณัฐศิร์ชา งามพิทักษ์สิน
    4.นางสาวสุทธิรัตน์ เจริญผล 5.นางสาวญาธิดา ศรลัมภ์)
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง สมุทรปราการ
    (1.นายอัฑฒกร แน่นหนา 2.นายถิรศักดิ์ ศิลางาม 3.นางสาวศรัญพร แซ่ล่าย 4. นางสาวปวีณา แจ่มใส 5.นางสาวอินทิรา นิลโต)
    🎉การแข่งขันวาดรูปภายใต้หัวข้อ ‘นินจาในจินตนาการ‘
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายพีรพล ขัดเชียงแสน ชื่อผลงาน ชีวิตคืออะไร
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวศุภกานต์ ปาณะปุณณัง ชื่อผลงาน นินจาม๊ะเหมียว
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวปิยาอร ตรีกุล ชื่อผลงาน NinjaDaily
    🎉การแข่งขันแต่งตัว “Korea Cosplay”
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวอังสุมาลิน มนูรัตนศิลป์ โรงเรียนสารวิทยา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวชยาภรณ์ ผลเจริญ โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวอัญชิชา ชะคำวงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวพิมพ์ปวีณ์ ฮาบเมืองซอง โรงเรียนสารวิทยา
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวมนชนก สุวรรณโน โรงเรียนสารวิทยา
    🎉การแข่งขันคัดลายมือ
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นายชนมภูมิ ถือชัยภูมิ โรงเรียนสารวิทยา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวฐิตารี เผ่าศรีเผือก โรงเรียนชลกันยานุกูล
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวบุญญาดา จูพุก โรงเรียนชลกันยานุกูล
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวณิชชา นรัจฉริยางกูร โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
    🎉การแข่งขันตอบปัญหาวิชาการด้านวัฒนธรรมเกาหลี “Golden bell”
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวภิญญาณัฎฐ์ พลังปัญญวัฑฒ โรงเรียนชลกันยานุกูล
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวศิรดา นันทกิจกำธร โรงเรียนสารวิทยา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวกัญญาณัฐ จี๋แก้ว โรงเรียนสารวิทยา
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวบัณฑิตา ศรีศศิธร โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวพิมพ์นิภา อักษร โรงเรียนชลบุรีสุขบท
    🎉การแข่งขันร้องเพลงเกาหลี “Korean Song Singing Contest”
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวฐิตาภา บุญเทียม โรงเรียนสารวิทยา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาวชรินษา ฉิมพันธ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวปาริฉัตร รักษาทรัพย์ โรงเรียนสารวิทยา
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ นางสาวกัญญ์กุลณัช ผลห้า โรงเรียนสารวิทยา
    🎉การแข่งขันเต้นแบบฉบับเกาหลี “Cover Dance”
  • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม B-lieve (บีลีฟ)
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ G.O.D. Glamour Of Decade (จีโอดี แกลมเมอร์ออฟดีเคต)
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ Bunny Crush (บันนี่ครัช)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ UNIT – GIRLS (ยูนิตเกิลส์)
  • รางวัลชมเชย ได้แก่ Enchanted (เอนชานต์)

กิจกรรมเปิดบ้านคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (HUSO BUU Open House 2024)

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดกิจกรรมเปิดบ้านคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (HUSO BUU Open House 2024) เพื่อให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้ทำความรู้จักคณะ หลักสูตร แนวทางการเรียนการสอน อาชีพที่เกี่ยวข้อง และอื่น ๆ ผู้สนใจสามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรมได้ทั้งรูปแบบ ณ ที่ตั้ง (อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา) โดยได้รับชมนิทรรศการจากทุกหลักสูตรระดับปริญญาตรี รับฟังการให้ข้อมูลเรื่องการรับเข้าศึกษา รวมถึงการ Workshop เพื่อค้นหาตัวตนและพูดคุยกับรุ่นพี่แต่ละหลักสูตรอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Facebook Live เพื่อให้ผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาที่คณะฯ ได้รับข้อมูลจากทุกหลักสูตรเช่นเดียวกัน กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นอย่างมาก

โครงการเตรียมทักษะทางสังคมเพื่อการฝึกสหกิจของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดอบรมโครงการเตรียมทักษะทางสังคมเพื่อการฝึกสหกิจของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
หัวข้อ English for the Workplace (ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน) โดยได้มี ดร.ณัฐภัทร พัฒนา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันตก ให้เกียรติเป็นวิทยากร ทั้งนี้นิสิตที่ไม่สามารถเข้าร่วมอบรมในวัน เวลาดังกล่าว สามารถดูคลิปวิดีโอย้อนหลังได้ทาง (เริ่มรับชมได้วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567)
https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1HpwuyYr-MMId9fVlGAjYedUWQWovZvj8?fbclid=IwAR049TXVu79iMRjGRxoEf-rWBZn2WySCplIstk3flpB-Vq4C6-6vvYf6qwE
พร้อมทั้งทำแบบทดสอบในระบบย LMS รายวิชา “โครงการเตรียมทักษะทางสังคมเพื่อฝึกสหกิจฯ หัวข้อ English for the Workplace (ภาษาอังกฤษเพื่อการทำงาน) ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567

เข้าร่วมโครงการการประชุมวิชาการเครือข่ายพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคมระดับชาติ (CSD สัมพันธ์) ครั้งที่ 22

วันที่ 31 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธิดา แจ้งประจักษ์และตัวแทนนิสิต สาขาวิชาการจัดการบริการสังคม จำนวน 8 คน เข้าร่วมโครงการการประชุมวิชาการเครือข่ายพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคมระดับชาติ (CSD สัมพันธ์) ครั้งที่ 22 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ศูนย์แม่ริม) จ.เชียงใหม่ การอบรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนทางด้านการพัฒนาชุมชน/ การจัดการบริการสังคม และเข้าร่วมกิจกรรมกับสถาบันอุดมศึกษาจากทั่วประเทศในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชุมชน/สังคม

หัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยา และตัวแทนนิสิต เข้ารับประกาศนียบัตรการอบรมหลักสูตรยกระดับทักษะในการทำงานพัฒนา

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุธิดา แจ้งประจักษ์ หัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และตัวแทนนิสิต เข้ารับประกาศนียบัตรการอบรมหลักสูตรยกระดับทักษะในการทำงานพัฒนา ในงานประชุมวิชาการเครือข่ายพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและสังคมระดับชาติ (CSD สัมพันธ์) ครั้งที่ 22 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ศูนย์แม่ริม)
การอบรมหลักสูตรยกระดับทักษะในการทำงานพัฒนา จัดโดย สมาคมพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นและสังคม และโครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะให้แก่นิสิตด้านกระบวนการออกแบบ Design thinking การวิเคราะห์ปัญหาแบบเชื่อมโยง เป็นเหตุเป็นผล (Cause Effect Analysis) การสร้างนวัตกรรมและนวัตกรรมทางสังคม การคิดและสื่อความคิดเป็นภาพ (Visual thinking) และทักษะในการทำงานร่วมกับชุมชน ทั้งนี้การอบรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 มิถุนายน – 8 กรกฎาคม 2566 ผ่านระบบออนไลน์

การประชุมร่วมกับคณาจารย์จาก Jilin International Studies University สาธารณรัฐประชาชนจีน

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 รศ.ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมด้วยผู้บริหาร หัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย และตัวแทนคณาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เข้าร่วมการประชุมร่วมกับคณาจารย์จาก Jilin International Studies University สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหารือในการพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน รวมถึงแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับนิสิตแลกเปลี่ยนต่างชาติ