สโมสรนิสิตจัดโครงการ HUSO THE NEXT GEN 2024

วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567 สโมสรนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการ HUSO THE NEXT GEN 2024 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรม
⭐️ สานสัมพันธ์เอก
⭐️ สานสัมพันธ์คณะ
⭐️ สานสายใยประกาบเทียน
โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นการฝึกปฏิบัติให้นิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีโอกาสในการทำงานร่วมกันและเชื่อมความสัมพันธ์ของนิสิตทุกชั้นปี

ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ จัดโครงการเตรียมความพร้อมนิสิตสหกิจศึกษา ครั้งที่ 2

วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2567 ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดโครงการเตรียมความพร้อมนิสิตสหกิจศึกษา ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ ”บุคลิกภาพ มารยาทในการทำงาน” ให้แก่นิสิตหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์กมลชนก เศรษฐบุตร หัวหน้าภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นวิทยากร
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะด้านบุคลิกภาพให้แก่นิสิต เพื่อสร้างความมั่นใจก่อนออกปฏิบัติสหกิจศึกษา และเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นพลเมืองและบุคลากรที่มีประสิทธิภาพขององค์กรต่าง ๆ ต่อไป

บรรยายทางวิชาการในหัวข้อ “เทคโนโลยีอินเทลลิเจนซ์กับการจัดการข้อมูลในแวดวงธุรกิจ”

วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567 ภาควิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดกิจกรรมการบรรยายทางวิชาการในหัวข้อ “เทคโนโลยีอินเทลลิเจนซ์กับการจัดการข้อมูลในแวดวงธุรกิจ” โดยทีมศิษย์เก่าภาควิชาสารสนเทศศึกษา นำโดย คุณกมลวรรณ วรรณวิธู – Media Monitoring Manager จากบริษัท Dataxet (ดาต้าเซ็ต) จำกัด ผู้บริหารจากองค์กรธุรกิจบริการสารสนเทศชั้นนำระดับนานาชาติ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน Media Intelligence และการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงธุรกิจ
กิจกรรมนี้เป็นความร่วมมือระหว่างภาควิชาฯ และองค์กรธุรกิจ เพื่อเปิดโลกทัศน์และเสริมสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ให้แก่นิสิต ในการเตรียมความพร้อมสู่โลกธุรกิจสารสนเทศดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ

โครงการ ”วาทศิลป์ in Daily Life พูดอย่างไรให้โดนใจคน ”

วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการ ”วาทศิลป์ in Daily Life พูดอย่างไรให้โดนใจคน ” ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ประเสริฐ ช่วยแก้ว อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ เป็นวิทยากร
วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าอบรมมีความกล้าแสดงออก มีไหวพริบที่ดี ในการพูดสื่อสาร รู้หลักการในการพูด ทั้งการเตรียมตัวในการพูด การเริ่มต้นการพูด การดำเนินเรื่อง การสรุปจบ ให้สามารถนำทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในงานพิธีกรต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวัน

โครงการเสวนาวิชาการเรื่อง “การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม” เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่นิสิต

วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567 ภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการเสวนาวิชาการเรื่อง “การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม” เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่นิสิตในเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม พัฒนาทักษะข้ามวัฒนธรรมสำหรับการทำงาน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลต่างวัฒนธรรม โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ธรรมพร กุศลสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับสถานประกอบการ

วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับสถานประกอบการ ที่รับนิสิตสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (CWIE) โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นประธานในพิธี และมีสถานประกอบการที่เข้าร่วมพิธี 3 แห่ง ได้แก่
🔹บริษัท อูซูอิ อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด
🔹กลุ่ม Siam Country Club ประกอบไปด้วย 5 บริษัท ได้แก่ บริษัท สยามคันทรี่คลับ จำกัด (Old Course) บริษัท สมบัติถาวร จำกัด (Plantation) บริษัท ทองถาวรพัฒนา จำกัด (Waterside) บริษัท ถาวร คันทรี่คลับแอน์รีสอร์ท จำกัด (Rolling Hills) และ บริษัท สยาม เอสเตท แอนด์ โค จำกัด
🔹บริษัทจัดหางาน เพอร์ซันแนล คอนซัลแตนท์ (ประเทศไทย) จำกัด

นิสิตได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศการแข่งขันสร้างนวัตกรรมและโมเดลธุรกิจ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ (25ทีม) ในการแข่งขันสร้างนวัตกรรมและโมเดลธุรกิจ ในกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Startup ประจำปี 2567 ภายใต้โครงการสร้างผู้ประกอบการ Micropreneur (GSB Micropreneur Academy)
ทีมนิสิตเจ้าของผลงานที่รับรางวัลชนะเลิศมีรายชื่อดังต่อไปนี้
🔸นางสาวศศิกร จึงเกษมโชคชัย ภาควิชาสังคมวิทยา
🔸นายธีร์ธัช สุรสุวรรณกุล ภาควิชานิเทศศาสตร์
🔸นายชลสิทธิ์ เกตชนก ศิษย์เก่าภาควิชาภาษาตะวันตก (สาขาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร)
นิสิตทีมดังกล่าวได้ส่งผลงานภายใต้ชื่อนวัตกรรม INNOMAG ซึ่งเป็นสารสกัด Mangiferin บริสุทธิ์ที่สุดเจ้าแรกของโลกและโมเดลธุรกิจที่เพิ่มคุณค่าให้ใบมะม่วงให้กลายเป็นสารสกัดที่สามารถต่อยอดสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรไทย
โดยผลงานนี้เป็นการต่อยอดมาจากงานวิจัยของ ผศ.ดร. อนันต์ อธิพรชัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
สำหรับรางวัล นิสิตได้รับทุนการศึกษาจากธนาคารออมสิน ผลงานละ 50,000 บาท พร้อมเข้าสู่กิจกรรมจัดตั้ง Smart Startup Company by GSB Startup โดยธนาคารสนับสนุนเงินทุนในการก่อตั้งธุรกิจจากเงินกองทุนธนาคารออมสิน ตามแผนธุรกิจ ที่นำเสนอไม่เกินผลงานละ 200,000 บาท

นิสิตได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ (25ทีม) และรางวัล popular vote

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ (25ทีม) และรางวัล popular vote ในการแข่งขันสร้างนวัตกรรมและโมเดลธุรกิจ ในกิจกรรม Smart Start Idea by GSB Startup ประจำปี 2567 ภายใต้โครงการสร้างผู้ประกอบการ Micropreneur (GSB Micropreneur Academy)
ทีมนิสิตเจ้าของผลงานที่รับรางวัลชนะเลิศมีรายชื่อดังต่อไปนี้
✨นายปิยะฉัตร มหาพงศ์ไพศาล (ภาควิชานิเทศศาสตร์)
✨นายปติภูมิ จากิจ (ศิษย์เก่าภาควิชาศาสนาและปรัชญา)
✨นางสาวจุฑามาศ ถนอมกุล (ศิษย์เก่าภาควิชาศาสนาและปรัชญา)า)
นิสิตทีมดังกล่าวได้ส่งผลงานภายใต้ชื่อนวัตกรรม JENNY WONG ซึ่งเป็นนวัตกรรมชุดคาบาเร่ต์ถอดประกอบได้เจ้าแรกของวงการโชว์ ที่เป็น BCG economy และยังเป็น Zero Waste โดยการนำเอาขยะ เช่น โฟมที่ไม่สามารถย่อยสลายได้รวมถึงขยะพลาสติกนำมาสร้างเป็นชุดคาบาเร่ต์โชว์ พร้อมทั้งนำเศษขนนกต่าง ๆ มาต่อยอดสร้างรายได้เพื่อส่งเสริมอาชีพต่อไป
สำหรับรางวัล นิสิตได้รับทุนการศึกษาจากธนาคารออมสิน ผลงานละ 50,000 บาท พร้อมเข้าสู่กิจกรรมจัดตั้ง Smart Startup Company by GSB Startup โดยธนาคารสนับสนุนเงินทุนในการก่อตั้งธุรกิจจากเงินกองทุนธนาคารออมสิน ตามแผนธุรกิจ ที่นำเสนอไม่เกินผลงานละ 200,000 บาท นอกจากนี้นิสิตได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท สำหรับรางวัล popular vote จากคณะกรรมการและพนักงานธนาคารออมสินทั่วประเทศ

คณะศึกษาดูงานจาก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดกิจกรรมสำหรับนิสิตของงานกิจการนิสิตและสโมสรนิสิต

โครงการส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการของนิสิต

วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการของนิสิต ในหัวข้อ “ปัจจัยเบื้องต้นในการก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการในอนาคต และ 3 หัวใจสู่การสร้าง ไอเดียธุรกิจและนวัตกรรมจาก Passion” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนิต โตอดิเทพย์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตและโครงสร้างพื้นฐาน เป็นประธานกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ นายปติภูมิ จากิจ ประธานกรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีโฮปเวลล์ จำกัด เป็นวิทยากร โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพของนิสิตระดับปริญญาตรี ทางด้านการเป็นผู้ประกอบการและส่งเสริมให้นิสิตมีความรู้พื้นฐานที่จะสามารถใช้งานและพัฒนาต่อยอดในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพในโอกาสต่อไป