กิจกรรม

การอบรมโครงการ “เตรียมความพร้อมในการทำงานให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 4

ภาควิชาศาสนาและปรัชญา จัดโครงการเตรียมความพร้อมในการทำงานสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 4
ในระหว่างวันที่ 1 – 30 มีนาคม พ.ศ. 2565
ในูปแบบ Online ผ่าน Google Meet

หลักการและเหตุผล
     โลกปัจจุบันเติบโตและเดินหน้าอย่างรวดเร็วพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติ กล่าวคือ สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ได้ส่งผลให้วิธีคิดและวิถีชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงในหลายด้าน มนุษย์ได้ตระหนักถึงความเสี่ยง ความเปราะบางที่เกิดขึ้นกับตนเอง สถานการณ์ดังกล่าวกำลังท้าทายให้มนุษย์ต้องรู้จักปรับตัวและเรียนรู้การใช้ชีวิตท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจรวมไปถึงการ Disrupt ของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สร้างผลกระทบทั้งในแง่ ความเป็นพลเมือง ความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้ใช้ จากที่กล่าวมาทั้งหมด ทุกองคาพยพล้วนตระหนักในสถานการณ์ดังกล่าว เช่นเดียวกับสถาบันการศึกษา หนึ่งในองคาพยพที่มีบทบาทสำคัญ กล่าวให้ชัดขึ้นก็คือ สถาบันการศึกษามีส่วนสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้แก่ทรัพยากรมนุษย์ นั่นคือการพัฒนาให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการทำงาน การเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะการใช้ชีวิตที่เหมาะสมกับยุคที่เปลี่ยนแปลง ความสามารถในการตั้งรับความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ความสามารถในการยืดหยุ่นและทันต่อสถานการณ์ ตลอดจนการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ เป็นต้น
     โครงการพัฒนานิสิตชั้นปีที่ 4 สู่โลกการทำงานและการเรียนรู้ตลอดชีวิตชุดนี้ได้เปิดโอกาสให้นิสิตมีส่วนร่วมในการเลือกสรรประเด็นการเรียนรู้ในโครงการที่ตรงตามความต้องการและความสนใจ โดยมุ่งเตรียมความพร้อม ยกระดับคุณภาพของนิสิตให้มีสมรรถนะสากล มีทักษะการทำงานและเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น มีความสามารถในการจัดสมดุลระหว่างงานและชีวิต มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในยุค New Normal ตลอดจนสามารถรับมือกับกระแสแห่งความไม่แน่นอน ความเสี่ยง ความเปราะบาง อุปสรรค รวมไปถึงความท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่าง แนบชิดเป็นเงาตามตัวได้ อนึ่งโครงการดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้ศิษย์เก่าของภาควิชาได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนะนำด้านการทำงานและด้านการศึกษาต่อแก่ศิษย์ปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการสร้างเครือข่าย ก่อเกิดเป็นความสัมพันธ์อันดีระหว่างศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และคณาจารย์ในภาควิชาร่วมด้วย
     โครงการชุดนี้ประกอบด้วยกิจกรรมการบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยนจำนวน 5 ครั้ง และมีแผนดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งมีหัวข้อการบรรยายและร่วมแลกเปลี่ยนดังนี้
1.  เทคนิคการบริหารการเงินในยุคปัจจุบัน 
     วิทยากรในการบรรบาย โดย อาจารย์ ดร.ศิริทัศน์ เขตตานุรักษ์
     ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายยกระดับคุณภาพงานวิจัย มหาวิทยาลัยบูรพา
2.  ทักษะการทำงานที่จำเป็นในยุคโควิด 
     วิทยากรในการบรรบาย โดย คุณวรดา ชำนาญพืช
     รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี
     กรรมการบริหาร บริษัท บีบีทีเค (ประเทศไทย) จำกัด
3.   การใช้โปรแกรม Excel เพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
      วิทยากรในการบรรบาย โดย คุณธนัญกรณ์ ชูนวน
      นักวิชาการศึกษา สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
4.   พี่จะเล่าให้น้องฟัง : ประสบการณ์ด้านการศึกษาต่อ
       มีวิทยากรร่วมอภิปราย รายชื่อดังต่อไปนี้
      1. คุณบุญยวีร์ บารมีพัชรศักดิ์
       นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขา I.P.R. (Indian Philosophy and Religion), Banaras Hindu University Varanasi, India
      2. คุณมณิสร โสนะมิตร์
      อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
      3. คุณจิราธิป เรืองสุขสุด
      นักศึกษาสาขาเอเชียแปซิฟิคศึกษา คณะสังคมศาสตร์ National Chengchi University
      4. คุณธนพล ฉิมพาลี
      นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาพุทธศาสนศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5.    พี่จะเล่าให้น้องฟัง : ประสบการณ์ด้านการทำงาน 
       มีวิทยากรร่วมอภิปราย รายชื่อดังต่อไปนี้
      1. อาจารย์ ดร. สิตางศ์ เจริญวงศ์
      อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
      2. ดร.ฐานชน จันทร์เรือง
      ผู้กำกับการแสดงคณะละครมรดกใหม่ สำนักศิลปพการละครเพื่อการพัฒนา
      ผู้ควบคุมบทภาพยนตร์ ซีรีส์ บริษัท ทรูซีเจครีแอคชั่น
      3. คุณปรัชญา โชคมณี
      Producer รายการเถื่อนTravel และช่องเถื่อน Channel
      Content Creator เพจ Mango Zero บริษัท The Zero Publishing
      4. คุณอมรรัตน์  นาคสุข
      ครูโรงเรียนบางจานวิทยา สังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี

วัตถุประสงค์
1.  เพื่อเตรียมความพร้อมของนิสิตสู่โลกการทำงานและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.  เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของนิสิตในด้านการทำงานและการใช้ชีวิต
3.  เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการและหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา
4.  เพื่อให้ได้แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา
5.  เพื่อให้ศิษย์เก่าของภาควิชาได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการศึกษาต่อและด้านการทำงาน
แก่ศิษย์ปัจจุบัน

ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     สอดคล้องกับ Platform ที่ 1 คือ ยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะสากล พร้อมทำงานได้ทันที มีทักษะเพื่อการทำงานและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
      สอดคล้องกับ KR ที่ 3 คือ ร้อยละของหลักสูตรที่มีการจัดโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการทำงานร่วมกัน หรือภาษาต่างประเทศ

Comments Off on การอบรมโครงการ “เตรียมความพร้อมในการทำงานให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 4