โครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านภาษาต่างประเทศให้แก่นิสิต
ภาควิชาศาสนาและปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ได้จัด “โครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านภาษาต่างประเทศให้แก่นิสิต”
เมื่อวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุม QS2-709
โดยมีวิทยากร คือ คุณจิตราภรณ์ วนัสพงศ์ (ผู้เชี่ยวชาญนโยบายและแผนงานอาหารกลางวันโรงเรียน ประจำโครงการอาหารโลกแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก)
– หลักการและเหตุผลในการจัดโครงการ –
ในสมัยที่โลกไร้พรมแดนเชื่อมโยงกันในปัจจุบัน ปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งคือภาษา เพราะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างกัน ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในชุมชน เมือง หรือประเทศเดียวกันอีกต่อไป แต่เป็นการสื่อสารระหว่างกันทั่วโลก หากคนใดหรือชาติใดรู้ภาษาอื่นนอกจากภาษาถิ่นของตนได้ ก็จะมีโอกาสในการติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น ความสามารถหรือทักษะทางภาษาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในโลกยุคปัจจุบัน เพราะเป็นตัวชี้วัดศักยภาพของคนในชาติ และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการศึกษาค้นคว้าวิชาการในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นหนทางนำไปสู่การประกอบอาชีพและการพัฒนา ทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศและระดับนานาชาติ
การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับโลกปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับกันว่าในบรรดาภาษา ต่างประเทศ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันทั่วโลก แม้ในประเทศกลุ่มอาเซียนก็มีมติให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งเป็นภาพสะท้อนให้เห็นความสำคัญของทักษะด้านภาษาต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
ภาควิชาศาสนาและปรัชญา ตระหนักถึงความสำคัญของทักษะด้านภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ดังนั้น จึงเห็นสมควรจัดโครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านภาษาต่างประเทศให้กับนิสิต เพื่อเป็นการเสริมสร้างทักษะด้านภาษา เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสมรรถนะประกอบอาชีพและสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องต่อไป
– วัตถุประสงค์ –
1. เพื่อให้นิสิตได้ตระหนักถึงความสำคัญของทักษะด้านภาษาต่างประเทศ
2. เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาต่างประเทศและแนวทางในการทำงานให้กับนิสิต
3. เพื่อได้แนวทางการส่งเสริมทักษะด้านภาษาสำหรับการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตร-บัณฑิต สาขาวิชาศาสนาและปรัชญา
– ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ –
สอดคล้องกับ Platform ที่ 1 คือ ยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะสากล พร้อมทำงานได้ทันที มีทักษะเพื่อการทำงานและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
สอดคล้องกับ KR ที่ 3 คือ ร้อยละของหลักสูตรที่มีการจัดโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการทำงานร่วมกัน หรือภาษาต่างประเทศ