ลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับสถานประกอบการ

วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ร่วมกับสถานประกอบการ ที่รับนิสิตสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (CWIE) โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นประธานในพิธี และมีสถานประกอบการที่เข้าร่วมพิธี 3 แห่ง ได้แก่
🔹บริษัท อูซูอิ อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด
🔹กลุ่ม Siam Country Club ประกอบไปด้วย 5 บริษัท ได้แก่ บริษัท สยามคันทรี่คลับ จำกัด (Old Course) บริษัท สมบัติถาวร จำกัด (Plantation) บริษัท ทองถาวรพัฒนา จำกัด (Waterside) บริษัท ถาวร คันทรี่คลับแอน์รีสอร์ท จำกัด (Rolling Hills) และ บริษัท สยาม เอสเตท แอนด์ โค จำกัด
🔹บริษัทจัดหางาน เพอร์ซันแนล คอนซัลแตนท์ (ประเทศไทย) จำกัด

คณะศึกษาดูงานจาก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดกิจกรรมสำหรับนิสิตของงานกิจการนิสิตและสโมสรนิสิต

คณบดีพร้อมด้วยตัวแทนผู้บริหาร บุคลากร เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติเกาหลีศึกษา ครั้งที่ 10

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา พร้อมด้วยตัวแทนผู้บริหาร บุคลากร เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติเกาหลีศึกษา ครั้งที่ 10 ในหัวข้อ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์กับเกาหลีศึกษา” ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดขึ้นโดย
🔹คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (เจ้าภาพหลัก)
🔹คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
🔹ศูนย์ส่งเสริมการวิจัยในภูมิภาคเอเชียของมูลนิธิเกาหลีเพื่อการศึกษาขั้นสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
🔹คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
🔹ศูนย์เกาหลีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
🔹คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
🔹คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
🔹คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
พร้อมกันนี้ ตัวแทนจากทั้ง 8 สถาบันได้ร่วมลงนามในหนังสือรับรองความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมและยกระดับความก้าวหน้าทางวิชาการในศาสตร์ของเกาหลีศึกษาและไทยศึกษาร่วมกัน

ภาควิชาภาษาไทยจัดโครงการเสวนาผู้ประกอบการ

วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการเสวนาผู้ประกอบการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้ประกอบการ (ผู้ใช้บัณฑิต) อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร และนิสิต อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาหลักสูตรต่อไป

บุคลากรได้รับรางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศการแข่งขันกีฬาเปตอง วันรพี ปี 2567

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรในโอกาสได้รับรางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศ ในการแข่งขันกีฬาเปตอง เนื่องในวันรพี ปี 2567 โดยบุคลากรจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประกอบไปด้วย
✨นายชัยยันต์ บำเพ็ญแพทย์
✨นายพิพัฒน์ พรหมทอง
✨นายทำนูล ประทุมสินธุ์

อาจารย์ปวินนา เพ็ชร์ล้วน ได้รับแต่งตั้งเป็นรองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการบริการวิชาการ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ปวินนา เพ็ชร์ล้วน อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ ในวาระได้รับแต่งตั้งเป็นรองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และการบริการวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป ตามประกาศมหาวิทยาลัยบูรพาที่ 1383/2567 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เข้าศึกษาดูงานและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สำนักบริหารงบประมาณ ววน. (FB2) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อภิศักดิ์ ธีระวิสิษฐ์ รองผู้อำนวยการ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เข้าศึกษาดูงานและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร พร้อมทั้งได้เรียนเชิญ อาจารย์ ดร.นิสรา คำมณี หัวหน้าภาควิชาจิตวิทยา อาจารย์ภัทรา ลอออรรถพงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา อาจารย์วีระ น้ำฟ้า อาจารย์พิเศษภาควิชาจิตวิทยา เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “การพัฒนา Growth Mindset เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในการทำงาน” เพื่อการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์และนิสิตที่ได้รับทุน Erasmus+ Scholarship

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์และนิสิตที่ได้รับทุน Erasmus+ Scholarship ดังรายละเอียดต่อไปนี้
🔸 ผศ.ดร.กังวาฬ ฟองแก้ว อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ ได้รับทุนให้ไปร่วมปฏิบัติงานในโครงการ Erasmus+ Programme (Staff Mobility for Teaching) ณ University of Minho สาธารณรัฐโปรตุเกส
🔸 นางสาวชมพูนุท สุทธา นิสิตสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร ที่ได้รับทุนให้ไปร่วมศึกษาแลกเปลี่ยนในโครงการ Erasmus+ Programme (Student Mobility) ณ University of Minho สาธารณรัฐโปรตุเกส

คณาจารย์ ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ ที่ได้รับทุนวิจัย จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้

  • รศ.ดร.สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม โครงการวิจัยเรื่อง กลไกบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ภาคกลาง ปี 2567
  • ผศ.ดร.ธนิต โตอดิเทพย์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตและโครงสร้างขั้นพื้นฐาน อาจารย์ประจำสาขาวิชาไทยศึกษา ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม โครงการวิจัยเรื่อง กลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ปี 2567 (กลไกกลาง)
  • ผศ.ดร.ศรีหทัย เวลล์ส หัวหน้าภาควิชาสารสนเทศศึกษา ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม โครงการวิจัยเรื่อง “จากขนมวัดเงินล้าน สู่เมนูอาหารพื้นถิ่นชลบุรี” การพัฒนาต่อยอดและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แป้งเท้ายายม่อมของชุมชนบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
  • รศ.ดร.ทรงยศ บัวเผื่อน อาจารย์ประจำภาควิชานิเทศศาสตร์ ได้รับทุนพัฒนานักวิจัยรุ่นกลาง โครงการวิจัยเรื่อง การสื่อสารสร้างโอกาสให้ชาวประมงพื้นบ้านในเมืองพัทยา

นางสาวกตัญญุตา ลิขสิทธิพันธุ์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ชื่อรุ่น 70 ประจำปีการศึกษา 2567

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับนางสาวกตัญญุตา ลิขสิทธิพันธุ์ นิสิตภาควิชาศาสนาและปรัชญา ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ชื่อรุ่น 70 ประจำปีการศึกษา 2567 โดยชื่อที่ได้รับคัดเลือกคือ ธารตะวันอำพันบูรพา ซึ่งมีความหมายดังนี้
ธารตะวัน นำมาจาก ทานตะวัน 🌻 เพื่อแทนตัวของพวกเราที่เปรียบเสมือนดั่งดอกทานตะวันที่พร้อมจะหันหน้า
น้อมรับความรู้ และสู้อดทนต่อความร้อนแรงของแสงตะวันอย่างไม่แปรผัน เปลี่ยนจาก ทาน เป็น ธาร
เพราะว่ามหาลัยของเรามีน้ำทะเลล้อมรอบ ส่วนอำพันคืออัญมณีที่มีสีเหลือง มีความสดใสอย่างยั่งยั่งยืนนาน
แบบอย่างอำพันที่มีสีสันสดใสมาอย่างยาวนานหลายหมื่นปี นอกจากนั้นยังเติมคำว่าบูรพาต่อท้าย
เพื่อแทนว่าทั้งหมดนั้นคือพวกเราที่เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยบูรพานั้นเอง