รางวัลการนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการระดับชาติ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาควิชาสารสนเทศศึกษา ที่คว้ารางวัลจากการนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการระดับชาติ
“การจัดการศึกษาและวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ครั้งที่ 2 (The 2nd National Conference on Education Management, Library & Information Science Research for SDGs) จัดโดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ
🏆 รางวัลชนะเลิศ:
“การพัฒนาระบบสารสนเทศศิษย์เก่าบนระบบคลาวน์ด้วยกระบวนการอะไจล์: แนวทางสู่การจัดการข้อมูลที่ยั่งยืน”
ผู้นำเสนอ: นางสาวแพรพิชชา เอี่ยมปรีชากุล และนางสาวรัชพร รุ่งถาวร (นิสิตชั้นปีที่ 3)
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร. อัครา ธรรมสถิตย์กุล
🏅 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1:
การวิจัยเรื่อง “พฤติกรรมการเลือกใช้โซเชียลมีเดียในการติดตามข้อมูลข่าวสารของนิสิตสาขาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา”
ผู้นำเสนอ: นางสาวณภัสสรณ์ อัครเดชเรืองศรี และนางสาวจิญาภา จันทร์เกตุ (นิสิตชั้นปีที่ 4)
อาจารย์ที่ปรึกษา: ผศ.ดร. ขวัญชฎิล พิศาลพงศ์
👏 นอกจากนี้ยังมีนิสิตชั้นปีที่ 2 และ 3 อีก 12 คน ที่ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอผลงาน 6 เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในรูปแบบดิจิทัลคอนเทนต์

  1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมแบบสามมิติด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเพื่อส่งเสริมสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษาวัดแสนสุข จังหวัดชลบุรี (ผู้นำเสนอ นางสาวกันยารัตน์ กมลนาวิน และ นางสาวไอริณ เหลืองอ่อน)
  2. การออกแบบและพัฒนาบอร์ดเกมเรื่อง Inside Out เปิดโลกภายในร่างกาย (ผู้นำเสนอ นายชญาณ์นันท์ พานิช และนายวิชญ์ภาส โพธิ์ศรี)
  3. การออกแบบและพัฒนาสื่อดิจิทัล เรื่องเสน่ห์ของฝากหนองมน จากท้องถิ่นสู่ดิจิทัล (ผู้นำเสนอ นางสาวญาณิดา ศรีระสา และนางสาวสุพิชฌาย์ รสจันทร์)
  4. การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่อง สัมผัสโลกใต้ทะเลบางแสน ผ่านสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืน (ผู้นำเสนอ นางสาวชาลินี เกษตรบริบูรณ์ และนางสาวธันญณัฐภ์ น้อยปุก)
  5. การสร้างดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตลาดน้ำสี่ภาค (ผู้นำเสนอ นางสาวปิยะธิดา นารี และนางสาวพัชริดา สุวรรณ์)
  6. การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อส่งเสริมคุณค่าและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เกาะลอยอย่างยั่งยืน (ผู้นำเสนอ นางสาวชลธิชา เจ๊ะหวัง และนางสาวสุกฤตา หมื่นสุขพร)
    ขอแสดงความยินดีและขอบคุณสำหรับความมุ่งมั่นและความพยายามของทุกคนที่ทำให้เราได้รับรางวัลในครั้งนี้

มอบประกาศนียบัตรให้แก่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยคยองซอง สาธารณรัฐเกาหลี

วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดพิธีมอบประกาศนียบัตรให้แก่นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยคยองซอง สาธารณรัฐเกาหลี จำนวน 10 คน ที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรภาษาไทยเพื่อการทำงาน ในโครงการ 2024 K-Move Global Business Job Training in Thailand ระหว่างวันที่ 6-29 พ.ย. 2567 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ธีรเดช มานะกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยหัวหน้าภาควิชาภาษาตะวันออก คณาจารย์ และนิสิตสาขาวิชาภาษาเกาหลีร่วมแสดงความยินดี

เวทีแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมสำหรับเยาวชนจีน-ไทย

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวอนันตา คำรอด นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาจีน ภาควิชาภาษาตะวันออก ในโอกาสเป็นตัวแทนเยาวชนไทย เข้าร่วม “การประชุมเตรียมการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนของคนรุ่นใหม่ ในโอกาสครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตจีน-ไทย” ซึ่งจัดโดยสมาคมนักเรียนไทย-จีน และสมาคมนักศึกษาและนักวิชาการจีนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนโดยสถานทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย ณ สถาบันขงจื่อ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2567
การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมสำหรับเยาวชนจีน-ไทย โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทยเข้าร่วม จำนวน 32 คน

โครงการส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการของนิสิต HUSO smart idea to start-up

วันที่ 28-30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการส่งเสริมทักษะการเป็นผู้ประกอบการของนิสิต HUSO smart idea to start-up โดยมี ผศ. ปัทวี สัตยวงศ์ทิพย์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตและโครงสร้างพื้นฐาน เป็นประธานกล่าวเปิดงาน กิจกรรมในโครงการประกอบไปด้วย การฝึกอบรมในหัวข้อ

  • Entrepreneurship Mindset
  • Design Thinking
  • Value Proposition Canvas and Value Added
  • Business Model Canvas
  • Financial Management
  • เทคนิคการ Pitching
    ซึ่งได้รับเกียรติจากคุณณัฐณิชา จิตชื่น เจ้าของแบรนด์ ซอสเทใจ และคุณปติภูมิ จากิจ เจ้าของแบรนด์ เจนนี่หว่องโชว์ เป็นวิทยากร
    นอกจากนี้นิสิตยังได้นำความรู้ที่ได้ มาร่วมแข่งขันประชันไอเดียธุรกิจ ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 14,000 บาท โดยมี ดร.ทนงศักดิ์ เทพสนธิ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออก ผศ. ดร.พรรณพิลาศ กุลดิลก รองคณบดีฝ่ายการจัดการศึกษาและสื่อสารองค์กร ผศ. ดร.ศิริทัศน์ เขตตานุรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คุณณัฐณิชา จิตชื่น เจ้าของแบรนด์ ซอสเทใจ และคุณปติภูมิ จากิจ เจ้าของแบรนด์ เจนนี่หว่องโชว์ เป็นคณะกรรมการตัดสินแผนธุรกิจและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาแผนงานต่อไป

โครงการบริการวิชาการ หัวข้อ “Japanese Storytelling Camp”

วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการบริการวิชาการ หัวข้อ “Japanese Storytelling Camp” ขึ้น เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการเล่านิทานแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น (Kamishibai) ที่โดดเด่นและสืบทอดกันมายาวนานนับร้อยปี โดยมีการสาธิตการเล่านิทานและเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมสนุกทดลองเล่านิทานภาษาญี่ปุ่น เพื่อได้ฝึกใช้ทักษะภาษาญี่ปุ่นในเชิงสร้างสรรค์ นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังเป็นการฝึกทักษะการทำงานให้กับนิสิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย
โครงการดังกล่าวสอดคล้องยุทธศาสตร์คณะฯ Platform 1: HUSO Smart Education การพัฒนาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สู่สากล KPI.4 (HUSO) จำนวนโครงการที่พัฒนานิสิตให้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นสำหรับ 21 และ Platform 3 : HUSO Smart Wisdom การบริการวิชาการด้วยฐานปัญญา ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ KPI B12: จำนวนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์/โครงการบริการวิชาการที่ก่อให้เกิดผลกระทบการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG related) การจัดโครงการครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก Hakuhodo Foundation ประเทศญี่ปุ่น

สัมมนาวิชาการร่วมกับบริษัท Asmil Corps. ประเทศญี่ปุ่น

วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดสัมมนาวิชาการร่วมกับบริษัท Asmil Corps. ประเทศญี่ปุ่น ให้กับนิสิตสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 3 ในหัวข้อ การฝึกงานในประเทศญี่ปุ่นและการเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงาน โดยได้รับเกียรติจาก Mr.Takeda Yukihiko ประธานบริษัท เป็นวิทยากรให้ข้อมูลและร่วมแลกเปลี่ยนกับนิสิตที่มีแผนจะไปฝึกงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น ในปีการศึกษา 2568 พร้อมด้วยคณาจารย์สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ขอแสดงความยินดีกับ ดร.ณัฐวรรธ อุไรอำไพ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยา ในโอกาสได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ: รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดี ประจำปีงบประมาณ 2568
จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จากวิทยานิพนธ์ เรื่อง ปฏิบัติการทางสังคมผ่านการใช้ทุนของแรงงานอีสานย้ายถิ่นกลับจากการไปทำงานต่างประเทศ
สำหรับผู้ได้รับรางวัลดังกล่าว จะเข้ารับพระราชทานเกียรติบัตรรางวัลการวิจัยแห่งชาติ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

HUSO BUU Open House

วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดกิจกรรม HUSO BUU Open House กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย – นิทรรศการจากทุกหลักสูตร ชมบูธแนะนำหลักสูตร แนวทางการเรียนการสอน และอาชีพที่เกี่ยวข้อง – กิจกรรม workshop เพื่อทำความรู้จักหลักสูตร ฟังการรีวิวหลักสูตรพร้อมถามตอบกับพี่ ๆ นิสิตอย่างใกล้ชิด

โครงการศึกษาดูงานกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร

ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการศึกษาดูงานกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ณ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร สํานักงานใหญ่ กรุงเทพมหานคร โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตได้รับความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยีทางการเงิน และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาทักษะที่จําเป็นในการทํางานอุตสาหกรรมการเงินจากผู้มีประสบการณ์ เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาทักษะของตนเอง อีกทั้งยังเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการหลังจากสำเร็จการศึกษา รวมถึงเป็นข้อมูลสำหรับภาควิชาฯ ในการนํามาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับตลาดแรงงาน ในศตวรรษที่ 21 ต่อไป

โครงการ CWIE Sharing Day

วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จัดโครงการ CWIE Sharing Day โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับโครงงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน โดยมีนิสิตชั้นปีที่ 4 นำเสนอโครงงานในรายวิชาสหกิจศึกษา รวมถึงการฝึกงานในต่างประเทศ ซึ่งนับเป็นก้าวแรกในการนำเสนอโครงงานและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อันส่งเสริมให้นิสิตได้พัฒนาศักยภาพของตนให้มีสมรรถนะและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (ทักษะด้านการสื่อสาร) เป็นไปตาม Learning Outcome ของหลักสูตร อีกทั้งยังเป็นการพัฒนานิสิตเพื่อก้าวสู่มาตรฐานสากล